เมนู

ปณิหิตอัจฉวรรคที่ 5



ว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดเป็นต้น



[42] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหางแหลมของเมล็ด
ข้าวสาลีหรือหางแหลมของเมล็ดข้าวเหนียว ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือ
หรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหางแหลมของ
เมล็ดข้าวอันบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักท่านิพพานให้แจ้ง ด้วยจิต
ที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะจิต
ตั้งไว้ผิด.
[43] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหางแหลมของ
เมล็ดข้าวสาลีหรือหางแหลมของเมล็ดข้าวเหนียว ที่บุคคลตั้งไว้ถูก
มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อเลือด
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยข้าวอันบุคคล
ตั้งไว้ถูก ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยัง
วิชชาให้เกิด จำทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก.
[44] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว
ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า

ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขัง
ไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาอันโทษประทุษร้าย
แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตอันโทษประทุษร้าย สัตว์
บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว
ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำ
กาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
[46] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำขุ่นมัว
เป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบ
บ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง
ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์
ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่าง
สามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว.
[47] ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว
ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบ

บ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง
ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์
ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่าง
สามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว.
[48] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้จันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ
กว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อน และควรแก่การงาน ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่
การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[49] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้
อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย.
[50] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล
เศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา.
[51] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้น
วิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา.
จบ ปณิหิตอัจฉวรรคที่ 5

อรรถกถาปณิหิตอัจฉวรรคที่ 5



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 5 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อุปมา. ในอรรถ
ที่ว่าด้วยอุปมานั้น บางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเอาข้อความ
ประกอบอุปมาเหมือนในวัตถสูตร และในปริฉัตตโกปมสูตรและ
อัคคิขันโธปมสูตร ในที่บางแห่งทรงแสดงเอาอุปมาประกอบข้อความ
เหมือนในโลณัมพิลสูตร และเหมือนในสุวัณณการสูตร และ สุริโยปม-
สูตรเป็นต้น แต่ในสาลิสูโกปมสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง
เอาอุปมาประกอบข้อความจึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว
ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลิสูกํ แปลว่า เดือยแห่งเมล็ดข้าว
สาลี แม้ในเดือยแห่งข้าวเหนียวก็นัยนี้เหมือนกัน วา ศัพท์ มีอรรถว่า
วิกัปป์ ไม่แน่นอน. บทว่า มิจฺฉาปณิหิตํ แปลว่าตั้งไว้ผิด อธิบายว่า
ไม่ตั้งให้ปลายขึ้นโดยประการที่อาจจะทิ่มเอาได้ บทว่า ภิชฺชิสฺสติ
ความว่า จักทำลาย คือจักเฉือนผิว.
บทว่า มิจฺฉาปณิหิเตน จิตฺเตน แปลว่า ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด
คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ บทว่า อวิชฺชํ
ได้แก่ ความไม่รู้อย่างใหญ่ มากด้วยความทึบ เป็นความไม่รู้ใน
ฐานะ 8. บทว่า วิชฺชํ ในคำว่า วิชฺชํ อุปฺปาเทสฺสติ นี้ ได้แก่ ญาณอัน
สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ อมตะ คุณชาติ