เมนู

อทันตวรรคที่ 4



ว่าด้วยจิตที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์



[32] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่.

[33] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์อย่างใหญ่

[34] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[35] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

[36] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[37] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.
[38] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน
จิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่.
[39] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.
[40] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[41] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว
คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.
จบ อทันตวรรคที่ 4

อรรถกถาอทันตวรรคที่ 4



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 4 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทนฺตํ ได้แก่ มีการเสพผิด (คือมีพยศ) เหมือนช้าง
และม้าเป็นต้น ที่มิได้ฝึก บทว่า จิตฺตํ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
วัฏฏะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทนฺตํ ได้แก่ หมดพยศ คือเป็นเสมือนช้างและม้า
เป็นต้นที่ฝึกแล้ว ในสูตรทั้ง 2 นี้ ท่านกล่าวเฉพาะจิตที่เกิดขึ้นด้วย
อำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ก็ในสูตรนี้ฉันใด แม้ในสูตรอื่น ๆ จากสูตรนี้
ก็ฉันนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2