เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 6



ประวัติพระทัพพมัลลบุตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 6 (พระทัพพมัลลบุตร) ดังต่อไปนี้.
บทว่า เสนาสนปญฺญาปกานํ ความว่า ภิกษุผู้เจ้าหน้าที่จัด
เสนาสนะ. ได้ยินว่าในเวลาพระเถระจัดเสนาสนะในบรรดามหาวิหาร
ทั้ง 18 แห่ง มิได้มีบริเวณที่ยังมิได้กวาดให้เรียบร้อย เสนาสนะ
ที่มิได้ปฏิบัติบำรุง เตียงตั่งที่ยังมิได้ชำระให้สะอาด น้ำดื่ม น้ำใช้
ที่ยังมิได้ตั้งไว้ เพราะฉะนั้นท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุ
ผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ คำว่า ทัพพะ เป็นชื่อของท่าน แต่
เพราะท่านเกิดในตระกูลของเจ้ามัลละจึงชื่อว่า มัลลบุตร ในปัญหา
กรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวไปตามลำดับดังต่อไปนี้ .
จะกล่าวโดยย่อ ครั้งพระปทุมุตตระพุทธเจ้า พระเถระนี้
เกิดในครอบครัวในกรุงหงสวดี เจริญวัยแล้วไปวิหารฟังธรรม
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ
ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีหน้าที่จัดเสนาสนะ กระทำ
กุศลกรรมปรารถนาตำแหน่งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว
กระทำกุศลจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ เมื่อครั้ง
ศาสนาของพระกัสสปทศพล เสื่อมแล้ว จึงบวชแล้ว ครั้งนั้น คนอื่น
อีก 6 คน กับภิกษุนั้นรวมเป็นภิกษุ 7 รูป มีจิตเป็นอันเดียวกัน
เห็นบุคคลเหล่าอื่น ๆ นั้น ไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา
จึงปรึกษากันว่า ในครั้งนี้เราจะทำอย่างไร กระทำบำเพ็ญสมณ-

ธรรมในที่สมควรส่วนหนึ่ง จักการทำที่สุดทุกข์ได้ จึงผูกบันได
ขึ้นยอดภูเขาสูง กล่าวว่า ผู้ที่รู้กำลังจิตของตน จงผลักบันไดให้
ตกไป ผู้ที่ยังมีความเดือดร้อนในภายหลังอยู่เถิด จึงพร้อมใจกัน
ผลักบันไดให้ตกไป กล่าวสอนซึ่งกันและกันว่า อาวุโสท่านจงเป็น
ผู้ไม่ประมาทเถิด นั่งในที่ที่ชอบใจ เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม บรรดา
ภิกษุทั้ง 7 นั้น พระเถระรูปหนึ่ง บรรลุพระอรหัตในวันที่ 5 คิดว่า
กิจของเราเสร็จแล้ว เราจักทำอะไรในที่นี้ จึงไปนำบิณฑบาต
มาแต่อุตตรกุรุทวีปด้วยอิทธิฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโสท่านทั้งหลาย
จงฉันบิณฑบาตนี้ หน้าที่ภิกษาจารเป็นของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลาย
จงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด อาวุโส พวกเราผลักบันไดให้ตกไปได้
พูดกันอย่างนี้มิใช่หรือว่า พูดกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมก่อน ผู้นั้น
จงไปนำภิกษามา ภิกษุนอกนี้ฉันภิกษาที่ท่านนำมาแล้วจักกระทำ
สมณธรรม ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ไม่ต้อง พระเถระกล่าวว่า
ท่านทั้งหลายได้แล้วด้วยเหตุอันมีในก่อนแห่งตน แม้กระผมทั้งหลาย
สามารถอยู่ก็จักกระทำที่สุดแห่งวัฏฏะได้ นิมนต์ไปเถิดท่าน พระ-
เถระเมื่อไม่อาจยังภิกษุเหล่านั้นให้เข้าใจกันได้ ฉันบิณฑบาตใน
ที่ที่เป็นผาสุกแล้วก็ไป ในวันที่ 7 พระเถระอีกองค์หนึ่งบรรลุ
อนาคามิผล จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.
ฝ่ายพระเถระนอกนี้ จุติจากอัตภาพนั้น ก็เวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์สิ้นพุทธันดรหนึ่ง บังเกิดในตระกูลนั้น ๆ องค์หนึ่ง
บังเกิดในพระราชนิเวศน์ในกรุงตักกศิลาแคว้นคันธาระ องค์หนึ่ง
เกิดในท้องนางปริพาชิกาในปัพพไตยรัฐ องค์หนึ่งเกิดในเรือนกุฏุมพี
ในพาหิยรัฐ องค์หนึ่งเกิดในเรือนแห่งกุฎุมพีกรุงราชคฤห์ ส่วน

พระทัพพมัสละนี้ถือปฏิสนธิในนิเวศน์ของเจ้ามัสละพระองค์หนึ่ง
ในอนุปิยนค ร มัลลรัฐ ในเวลาใกล้ตลอด มารดาของท่านก็ทำกาละ
ญาติทั้งหลายนำสรีระของตนตายไปยังป่าช้าแล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอน
ไม้แล้วจุดไฟ. พอไฟสงบลงพื้นท้องของนางนั้นก็แยกออกเป็น 2
ส่วน มีทารกกระเด็นขึ้นไปตกที่เสาไม้ต้นหนึ่งด้วยกำลังบุญของตน
คนทั้งหลายอุ้มทารกนั้นไปให้แก่ย่าแล้ว ย่านั้นเมื่อจะตั้งชื่อทารกนั้น
จึงตั้งชื่อของท่านว่า ทัพพะ เพราะท่านกระเด็นไปที่เสาไม้จึงรอด
ชีวิต.
เมื่อท่านมีอายุ 7 ขวบ พระศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร
เสด็จจาริกไปในมัลลรัฐ ลุถึงอนุปิยนิคมประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน
ทัพพกุมารเห็นพระศาสดาก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาทีเดียว ก็อยาก
จะบวชจึงลาย่าว่า "หลานจักบวชในสำนักพระทศพล" ย่ากล่าวว่า
ดีละพ่อ พาทัพพกุมารไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่าท่านเจ้าข้า
ขอจงให้กุมารนี้บวชเถิด พระศาสดาทรงประทานสัญญาแก่ภิกษุ
รูปหนึ่งว่า ภิกษุ เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระนั้นรับพระ-
พุทธดำรัสแล้วก็ให้ทัพพกุมารบรรพชา บอกตจปัญจกกัมมัฎฐาน
สัตว์ผู้สมบูรณ์ด้วยบุรพเหตุ ได้บำเพ็ญบารมีไว้แล้วในขณะที่ปลงผม
ปอยแรก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเมื่อปลงผมปอยที่ 2 ตั้งอยู่ใน
สกทาคามิผลปอยที่ 3 ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ก็การปลงผมเสร็จ
และการทำให้แจ้งอรหัตตผล ก็เกิดไม่ก่อนไม่หลังคือพร้อมกัน.
พระศาสดาประทับอยู่ในมัลลรัฐตามพระพุทธอัธยาศัยแล้ว
เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ สำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระเวฬุวัน

วิหาร ในที่นั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่ในที่ลับ ตรวจดูความ
สำเร็จกิจของตน ประสงค์จะประกอบกายในการกระทำความ
ขวนขวายแก่พระสงฆ์คิดว่าถ้ากะไร เราจะพึงจัดแจงเสนาสนะ
และจัดอาหารถวายสงฆ์ ท่านจึงเข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูลถึง
ความปริวิตกของตน พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่ท่าน
แล้วทรงมอบหน้าที่จัดเสนาสนะและหน้าที่จัดอาหาร ครั้งนั้นพระ-
ศาสดาทรงดำริว่าพระทัพพนี้ ยังเด็กอยู่ แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งใหญ่
จึงทรงให้ท่านอุปสมบทแล้ว ในเวลาที่ท่านมีพรรษา 7 เท่านั้น
ตั้งแต่เวลาที่ท่านอุปสมบทแล้ว พระเถระจัดเสนาสนะและจัดอาหาร
ถวายภิกษุทุกรูปที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ความที่ท่านมีหน้าที่
จัดเสนาสนะได้ปรากฏไปในทิศทั้งปวงว่า ได้ยินว่าพระทัพพมัลล-
บุตร ย่อมเข้าใจจัดเสนาสนะในที่เดียวกันสำหรับภิกษุผู้ถูกอัธยาศัย
กัน ย่อมจัดแจงเสนาสนะแม้ในที่ไกล พวกภิกษุที่ไม่อาจจะไปได้ ท่าน
นำไปด้วยฤทธิ์.
ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย สั่งให้ท่านจัดแจงเสนาสนะอย่างนี้ว่า
อาวุโส จงจัดเสนาสนะแก่พวกเราในชีวกัมพวัน จงจัดเสนาสนะ
ให้แก่พวกเราในมัททกุจฉิมิคทายวัน แล้วเห็นฤทธิ์ของท่านก็ไป
ในกาลบ้างในวิกาลบ้าง แม้พระทัพพนั้นก็บันดาลกายมโนมัย
ด้วยฤทธิ์เนรมิตเป็นภิกษุให้เหมือนกับตนสำหรับพระเถระองค์
ละรูป ๆ ถือไฟไปข้างหน้าบอกว่า นี่เตียง นี่ตั่ง เป็นต้น จัดเสนาสนะ
แล้วจึงกลับมายังที่อยู่ของตนอีก นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. แต่
โดยพิสดารเรื่องนี้มาในพระบาลีแล้วเหมือนกัน พระศาสดาทรง

กระทำเหตุนี้นั่นแหละให้เป็นอัตถุปบัติเหตุเกิดเรื่อง เหมือนกับ
นั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ. ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่ง
เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ประวัติพระปิลินทวัจฉเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า เทวานํ ปิยมนาปานํ ทรงแสดงว่า พระปิลันทวัจฉ-
เถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นที่รักและเป็นที่ชอบใจของเทวดา
ทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ พระเถระนั้น
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรงให้มหาชนตั้งอยู่ในศีลห้า ได้ทรงกระทำ
กุศลที่มุ่งผลข้างหน้าคือ สวรรค์ โดยมากเหล่าเทวดาที่บังเกิดใน
ฉกามาวจรสวรรค์ 6 ชั้น ได้โอวาทของพระองค์นั่นแลตรวจดู
สมบัติของตนในสถานที่ที่บังเกิดแล้ว นึกอยู่ว่า เราได้สวรรค์สมบัติ
นี้เพราะอาศัยใครหนอ ก็รู้ว่า เราได้สมบัติเพราะอาศัยพระเถระ
จึงนมัสการพระเถระทั้งเวลาเช้าเวลาเย็น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็น
ยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายก็คำว่า
ปิลินท เป็นชื่อของท่าน, คำว่าวัจฉะ เป็นโคตรของท่าน รวมคำทั้ง 2