เมนู

มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย



อรรถกถาเอกนิบาต



อารัมภกถา



ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ขอไหว้
พระสุคต ผู้หลุดพ้นจากคติ ผู้มีพระทัยเยือกเย็น
ด้วยพระกรุณา ผู้มีมืดคือโมหะ อันแสงสว่าง
แห่งปัญญาขจัดแล้ว ผู้เป็นครูของชาวโลก
พร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา
พระพุทธเจ้าทรงเจริญและทำให้แจ้งคุณ
เครื่องเป็นพระพุทธเจ้า เข้าถึงธรรมใดอัน
ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าขอไหว้ธรรมนั้น อัน
ยอดเยี่ยม.
ข้าพเจ้าขอไหว้ ด้วยเศียรเกล้าซึ่งพระ
อริยสงฆ์ทั้ง 8 ผู้เป็นโอรสของพระตถาคตเจ้า
ผู้ย่ำยีเสยซึ่งกองทัพมาร.

บุญใดสำเร็จด้วยการไหว้พระรัตนตรัย ของข้าพเจ้าผู้มีจิต
เลื่อมใสดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่อานุภาพแห่งบุญนั้น ช่วยขจัด
อันตรายแล้ว จักถอดภาษาสีหลออกจากคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งพระ

อรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ 500 องค์สังคายนามาแต่ต้น และสังคายนาต่อ ๆ
มา แน่ภายหลัง ท่านพระมหินทเถระนำนายังเกาะสีหล จัดทำไว้เป็น
ภาษาสีหล เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชาวเกาะ แล้วยกขึ้นสู่ภาษาที่น่า
รื่นรมย์ ควรแก่นัยแต่งพระบาลี คือทำเป็นภาษามคธ ไม่ให้ขัดแย้ง
ลัทธิสมัยซึ่งปราศจากโทษของเหล่าพระเถระประทีปแห่งเถรวงศ์ ผู้อยู่
ในมหาวิหาร ซึ่งมีวินิจฉัยละเอียดดี ละเว้นข้อความความที่ซ้ำซาก
เสียแล้ว ประกาศเนื้อความแต่งคัมภีร์อังคุตตรนิกายอันประเสริฐ อัน
ประดับด้วยเอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต เป็นต้น เพื่อให้อรรถ
แจ่มแจ้ง สำหรับให้เกิดปฏิภาณอันวิจิตร แก่เหล่าพระธรรมกถึกที่ดี
ซึ่งข้าพเจ้าเมื่อกล่าวเนื้อความ แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย และคัมภีร์มัชณิม
นิกาย ภายหลังจึงพรรณนาเรื่องราวของพระนครทั้งหลาย มีกรุงสาวัตถี
เป็นต้น ให้สาธุชนยินดี และเพื่อให้พระธรรมตั้งอยู่ยั่งยืน ได้ยินว่า
เรื่องเหล่าใด ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ทั้งสองนั้น (ทีฆ, มัชฌิม) พิสดารใน
คัมภีร์อังคุตตรนิกายนี้ ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวเรื่องเหล่านั้นให้พิสดาร
ยิ่งขึ้นไปอีก แต่สำหรับสูตรทั้งหลาย เนื้อความเหล่าใด เว้นเรื่องราว
เสีย จะไม่แจ่มแจ้ง ข้าพเจ้าจักกล่าวเรื่องราวทั้งหลายไว้ เพื่อความ
แจ่มแจ้งแต่งเนื้อความเหล่านั้น.
พระพุทธวจนะนี้ คือ ศีลกถา ธุดงคธรรม กรรมฐานทั้งหมด
ความพิสดารของฌานและสมาบัติ ที่ประกอบด้วยวิธีปฏิบัติ อภิญญา
ทั้งหมด คำวินิจฉัยทั้งสิ้นอันเกี่ยวด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
อินทรีย์ อริยสัจ 4 ปัจจยาการเทศนา มีนัยอันหมดจดละเอียด ซึ่ง
ไม่พ้นจากแนวพระบาลี และวิปัสสนาภาวนา แต่เพราะเหตุที่พระ

พุทธวจนะที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในวิสุทธิมรรค
อย่างหมดจดดี ฉะนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์เรื่องทั้งหมดนี้ ให้ยิ่ง
ขึ้นไป เพราะปกรณ์พิเศษ ชื่อว่าวิสุทธิมรรคนี้ ที่ข้าพเจ้ารจนาไว้
แล้วนั้น ดำรงอยู่ท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง 4 จักประกาศข้อความตาม
ที่ได้กล่าวไว้ในนิกายทั้ง 4 นั้น ฉะนั้นขอสาธุชนทั้งหลาย จงถือเอา
ปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคนั้น พร้อมด้วยอรรถกถานี้ แล้วจักทราบ
ข้อความตามที่อ้างอิงคัมภีร์อังคุตตรนิกายแล.

อรรถกถารูปาทิวรรคที่ 1



อรรถกถาสูตรที่ 1



ในคัมภีร์เหล่านั้น คัมภีร์ ชื่อว่า อังคุตตรนิกาย มี 11 นิบาต คือ
เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต
สัตตกนิบาต อัฎฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต
ว่าโดยสูตร อังคุตตรนิกาย มี 9,557 สูตร บรรดานิบาต
แห่งอังคุตตรนิกายนั้น เอกนิบาต เป็นนิบาตต้น บรรดาสูตร จิตต-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น คำนิทานแม้แห่งสูตรนั้นมีว่า เอวมฺเม สุตํ
เป็นต้น ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ ในกาลมหาสังคีติครั้งแรกเป็นต้น
มหาสังคีติครั้งแรกนี้นั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถา
ทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี เพราะฉะนั้น มหาสังคีติ ครั้งแรกนั้น
พึงทราบโดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.

ก็บทว่า เอวํ ในคำนิทานวจนะว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น เป็นบท
นิบาต บทว่า เม เป็นบทนาม บทว่า วิ ในบทว่า สาวตฺถิยํ วิหรติ นี้
เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนก
บทโดยนัยนี้ก่อน.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถ ก่ออื่น เอวํ ศัพท์มีอรรถหลายประเภท
อาทิเช่น อุปมา เปรียบเทียบ. อุปเทส แนะนำ, สัมปหังสนะ ยกย่อง,
ครหณะ ติเตีนน, วจนสัมปฏิคคหณะ รับคำ, อาการะ อาการ,
นิทัสสนะ ตัวอย่าง, และอวธารณะ กันความอื่น, จริงอย่างนั้น เอวํ