เมนู

เป็นผู้ได้ฌาน การทำฌานนั้นแหละให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตตผล
ท่านพักน้อยกว่าสมาบัติที่พระทศพลเข้า เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก
จึงมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ต่อมาภายหลังพระศาสดาทรงถือเอาคุณอันนี้ สถาปนาท่านไว้ใน
ตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ก็ท่านชื่อว่า กังขาเรวตะ
เพราะมีความกังขา กล่าวคือความรำคาญ ที่มีความรังเกียจบังเกิด
ขึ้นในวัตถุทั้งหลายที่เป็นกัปปิยะนั่นแลอย่างนี้ว่า อาวุโส น้ำอ้อยงบ
เป็นอกัปปิยะ มูตรเป็นอกัปปิยะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ประวัติพระโสณโกฬวิสเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.

บทว่า อารทฺธวิริยานํ ความว่า ผู้ตั้งความเพียรแล้ว ผู้มีความ
เพียรบริบูรณ์แล้ว. คำว่า โสโณ โกฬวิโส เป็นชื่อของพระเถระนั้น.
คำว่า โกฬวิโส เป็นโคตร. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ชื่อว่า โกฬเวโส
อธิบายว่า เด็กแห่งตระกูลแพศย์ ผู้ถึงที่สุดด้วยความมีอิสสระ ก็

เพราะเหตุที่ ธรรมดาว่า ความเพียรของภิกษุเหล่าอื่น ย่อมต้อง
ทำให้เจริญ แต่ของพระเถระ พึงอบรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น
พระเถระนี้ ชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภ
แล้ว ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะพึงกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
พระเถระนี้บังเกิดในตระกูลเศรษฐี พวกญาติขนานนามของท่าน
ว่า สิริวัฑฒกุมาร ท่านเจริญวัยแล้วไปวิหารโดยนัยก่อนนั้นแล
ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุ
รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีความ
เพียรอันปรารภแล้ว จึงคิดว่า แม่เราก็ควรเป็นอย่างภิกษุนี้ใน
อนาคต จบเทศนา จึงนิมนต์พระทศพล ถวายมหาทาน 7 วัน ได้
กระทำความปรารถนา โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล พระศาสดาทรง
เห็นว่า ความปรารถนาของท่านสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์โดยนัย
ก่อนนั่นแล เสด็จกลับพระวิหาร ฝ่ายสิริวัฑฒเศรษฐีนั้น กระทำ
กุศลตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ล่วงไปแสนกัป
เมื่อพระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้วในกัปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของเรายังไม่ทรงบังเกิด ก็มาถือปฏิสนธิในครอบครัวกรุงพาราณี
ท่านไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา พร้อมกับหมู่สหายของตน ครั้งนั้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมีจีวรเก่า เข้าอาศัยกรุงพาราณสี
สร้างบรรณศาลาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ตั้งใจว่าจะเข้าจำพรรษา
จึงไปดึงท่อนไม้และเถาวัลย์ที่จักนำพัดมาติดอยู่ออก กุมารนี้กับ
สหายเดินไปยืนอภิวาทอยู่ถามว่า ทำอะไรเจ้าข้า ป. พ่อเด็กจวน

เข้าพรรษาแล้ว ธรรมดาบรรพชิตควรได้ที่อยู่ กุมารกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า วันนี้ ขอพระคุณเจ้ารอสักวันหนึ่งก่อน, พรุ่งนี้ ข้าพเจ้า
จะกระทำที่อยู่ถวายพระคุณเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้ายับยั้งอยู่ เพราะ
เป็นผู้มาแล้วด้วยตั้งใจว่า จักกระทำความสงเคราะห์กุมารนี้เหมือน
กัน กุมารนั้นทราบว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ารับนิมนต์แล้ว วันรุ่งขึ้น
จึงจัดแจงเครื่องสักการะสัมมานะไปยืนคอยพระปัจเจกพุทธเจ้ามา
ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงรำลึกว่า วันนี้เราจักเที่ยวหาอาหาร
ที่ไหนหนอ จึงไปยังประตูเรือนของกุมารนั้น กุมารเห็นพระปัจเจก-
พุทธเจ้าแล้วก็นึกรัก รับบาตรถวายอาหาร นิมนต์ว่า ตลอดภายใน
พรรษานี้ ขอได้โปรดมายังประตูเรือนของข้าพเจ้าเท่านั้น พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้ารับคำฉันเสร็จแล้วก็หลีกไป, จึงไปกับสหายของ
ตนช่วยกันสร้างบรรณศาลาที่อยู่ ที่จงกรม และที่พักกลางวันและ
กลางคืน ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วเสร็จในวันเดียว กุมารนั้น
คิดว่า เวลาพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าบรรณศาลา เปือกตมบนพื้นดิน
ที่ฉาบด้วยของเขียวสด อย่าได้ติดที่เท้า จึงลาดผ้ากัมพลแดงมีค่า
พันหนึ่งอันเป็นผ้าห่มของตนปิดพื้น เห็นรัศมีมีสรีระของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า เป็นเช่นเดียวกับสีของผ้ากัมพล ก็เลื่อมใสอย่างยิ่ง กล่าวว่า
จำเดิมแต่เวลาที่พระคุณเจ้าเหยียบแล้ว ประกายแห่งผ้ากัมพลนี้
แวววาวอย่างยิ่งฉันใด แม้วรรณะแห่งมือและเท้าของข้าพเจ้าก็จงมี
สีเหมือนดอกหงอนไก่ ในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วเกิดอีก ฉะนั้น ขอให้
ผัสสะจงเป็นเช่นกับผัสสะแห่งผ้าฝ้ายที่เขายีแล้วถึง 7 ครั้งเทียว
กุมารนั้นบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาส ได้ถวายไตรจีวรเมื่อ
เวลาปวารณาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้ามีบาตรและจีวรบริบูรณ์แล้ว

จึงไปยังภูเขาคันธมาทน์ตามเดิม
ฝ่ายกุลบุตรนั้น เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์มาถือปฏิสนธิ
ในเรือนของอุสภเศรษฐี ในเมืองกาลจัมปาก ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของเรา ตั้งแต่เวลาที่กุลบุตรนั้นถือปฏิสนธิ เครื่องบรรณาการ
หลายพันมาในสกุลเศรษฐี ในวันที่เกิดนั่นเอง ทั่วพระนครได้มี
เครื่องสักการะสัมมานะเป็นอันเดียวกัน ย่อมาในวันตั้งชื่อกุมารนั้น
มารดาบิดาคิดว่า บุตรของเรารับชื่อของตนมาแล้ว รัศมีสรีระ
ของเขาเหมือนรดด้วยทองมีสุกแดง เพราะฉะนั้น จึงตั้งชื่อของ
กุมารนั้นว่า โสณกุมาร ครั้งนั้น เศรษฐีให้พี่เลี้ยงนางนมบำรุงบุตร
นั้นให้เจริญด้วยความสุขประหนึ่งเทพกุมาร การจัดแจงอาหาร
สำหรับกุมารนั้นได้มีแล้วอย่างนี้ หว่านข้าวลงยังที่มีประมาณ 60
กรีส เลี้ยงด้วยน้ำ 3 อย่าง เอาตุ่มใส่น้ำนมและน้ำหอมหลายพันตุ่ม
รดลงในเหมืองน้ำที่ไหลเข้าไปในนาดอน เวลารวงข้าวสาลีเป็นน้ำนม
ก็ฝังหลักล้อมรอบ ๆ และในระหว่าง ๆ เพื่อป้องกันสัตว์ทั้งหลาย
มีนกแก้วเป็นต้น กระทำเป็นเดน และเพื่อจะให้รวงข้าวมีความ
นุ่มนวล ลาดผ้าเนื้อละเอียดไว้บนหลัก เอาไม้พาดข้างบน ด้วย
เสื่อลำแพน กั้นม่านโดยรอบ จัดอารักขาไว้ในที่รอบ ๆ ทุกส่วน
เมื่อข้าวสุกขึ้นฉางก็ประพรมด้วยคันธชาติ 4 อย่าง อบด้วยของหอม
อย่างดีเลิศไว้ข้างบน หมู่คนหลายแสนลงแขกเกี่ยวขั้วรวงข้าวสาลี
ทำเป็นกำ ๆ มัดด้วยเชือก ตากให้แห้ง ต่อนั้น ลาดของหอมที่พื้น
ล่างฉาง แผ่รวงข้าวไว้ข้างบน แผ่ไปให้มีระหว่างช่อง อย่างนี้จน
เต็มฉางจึงปิดประตู เมื่อครบ 3 ปี จึงค่อยเปิดฉางข้าว เวลาเปิด
ก็มีกลิ่นอบอวลไปทั่วพระนคร เมื่อฟาดข้าวสาลี พวกนักเลงก็พา

กันมาซื้อแกลบเอาไป ส่วนรำ จุลลปัฏฐากได้ไป เวลาซ้อมด้วยสาก
ก็มาเลือกเก็บเอาข้าวสารไป คนเหล่านั้นใส่ข้าวนั้นไว้ในกระเช้า
แฝกทอง จุ่มลงครั้งเดียวในชาติรส ใส่ข้าวไว้ในกระเช้าที่สาน
ด้วยแฝกทอง ใส่ชาติรสน้ำผลจันทน์ที่ยังร้อน ซึ่งกรอง 7 ครั้ง
เอามาครั้งเดียวแล้วก็ยกขึ้น น้ำผลจันทน์ที่เดือดแล้วซึ่งเขากรอง
7 ครั้ง แล้วยกขึ้นตรองข้าวสาลีที่ยกขึ้นพ้นน้ำแล้ว ก็เหมือนดอก
มะลิ ชนทั้งหลายจึงใส่โภชนะนั้นไว้ในถาดทอง เอาไว้บนถาดเงิน
ที่เต็มด้วยข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยที่ยังร้อนอยู่ ถือไปวางไว้ข้างหน้า
บุตรเศรษฐี. เศรษฐีบุตรนั้นบริโภคพอยังอัตภาพให้เป็นไปสำหรับตน
แล้วล้างปากด้วยน้ำที่อบด้วยของหอม แล้วล้างมือและเท้า ตอนนั้น
จึงนำเครื่องอบปากมีประการต่าง ๆ มาให้แก่เศรษฐีบุตรนั้นซึ่ง
ได้ล้างมือและเท้าแล้ว ลาดเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้
อย่างดี ในที่ที่เศรษฐีบุตรนั้นเหยียบ ฝ่ามือและฝ่าเท้าของเศรษฐีบุตร
นั้นมีสีดุจสีดอกหงอนไก่ โลมาซึ่งมีวรรณะดุจสีแก้วมณีและแก้ว
กุณฑล เกิดที่ฝ่าเท้า ดุจสัมผัสของผ้าฝ้ายที่เขายีแล้วถึง 7 ครั้ง
เศรษฐีบุตรนั้นโกรธใคร ๆ จะพูดว่า จงรู้ไว้ ฉันจะเหยียบพื้นดิน
เมื่อเธอเจริญวัยแล้วให้สร้างปราสาท 3 หลัง ที่เหมาะแก่ฤดู 3
แล้วให้นางงอนบำรุงบำเรอเศรษฐีบุตรนั้นเสวยมหาสมบัติอาศัย
อยู่ปานเทพเจ้า.

ต่อมาเมื่อพระศาสดาของเราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว อาศัยกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่ เศรษฐีบุตรนั้นอันพระเจ้ามคธตรัสเรียกมาเพื่อจะ

ทอดพระเนตรขนที่เท้าแล้วส่งไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับชาวบ้าน
80,000 ฟังพระธรรมเทศนาได้ศรัทธา จึงขอบรรพชากะพระ-
ศาสดา ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเขาว่า มารดาบิดา
อนุญาตแล้วหรือ ทรงสดับว่า ยังมิได้อนุญาต จงทรงห้ามว่า โสณะ
ตถาคตไม่ให้กุลบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาตบวชได้ เศรษฐีบุตร
นั้นรับพระดำรัสของพระตถาคตด้วยเศียรเกล้าว่า ดีละพระเจ้าข้า
จึงไปหามารดาบิดาให้ท่านอนุญาตแล้ว จึงกลับมาเฝ้าพระตถาคต
ได้บวชในสำนักของภิกษุรูปหนึ่ง นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้, โดย
พิสดาร พิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในพระบาลีนั่นแล.

เมื่อท่านได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในกรุงราชคฤห์ หมู่
ญาติและสายโลหิตเป็นอันมาก และเพื่อเห็นเพื่อนเป็นอันมาก ต่าง
นำสักการะและสัมมานะมา กล่าวสรรเสริญความสำเร็จแห่งรูป
แม้คนเหล่าอื่นก็พากันมาดู พระเถระคิดว่า คนเป็นอันมากมายัง
สำนักของเรา เราจักทำกิจกรรมในกัมมัฏฐาน หรือในวิปัสสนา
ได้อย่างไร ถ้ากะไร เราพึงเรียนกัมมัฎฐานในสำนักของพระ-
ศาสดาแล้วไปสุสานสีตวัน บำเพ็ญสมณธรรม เพราะคนเป็นอันมาก
เกลียดสุสานสัตว์นั้น จักไม่ไป เมื่อเป็นอย่างนี้ กิจของเราจักถึง
ที่สุดได้ จึงรับกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปยังสีตวัน
เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม ท่านคิดว่า สรีระของเราละเอียดอย่างยิ่ง
แต่ไม่อาจจะให้ถึงความสุขโดยความสะดวกนั่นเอง แม้ถึงจะลำบาก
กายก็ควรบำเพ็ญสมณธรรม แต่นั้นจึงอธิษฐานการยืนและการ
จงกรมมีแต่โลหิตอย่างเดียว เมื่อเท้าเดินไม่ได้ ก็พยายามจงกรมด้วย

เข่าบ้าง ด้วยมือบ้าง แม้ถึงกระทำความเพียรอย่างมั่นคงถึงเพียงนี้
ก็ไม่อาจทำคุณแม้เพียงโอภาสให้บังเกิด จึงคิดว่า แม้หากว่าคนอื่น
พึงปรารภความเพียรพึงเป็นเช่นกับเราไซร้ แต่เราพยายามอยู่
อย่างนี้ ก็ไม่อาจทำมรรคหรือผลให้เกิดขึ้นได้ เราไม่ใช่อุคฆฏิตัญญู
บุคคล หรือไม่ใช่วิปจิตัญญูบุคคล ไม่ไช่ไนยบุคคล เราพึงเป็น
ปทปรมบุคคลแน่แท้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยบรรพชา เราจะสึก
ออกไปบริโภคโภคะและกระทำบุญ สมัยนั้น พระศาสดาทรงทราบ
ความปริวิตกของพระเถระ เวลาเย็นทรงมีหมู่ภิกษุแวดล้อมไปใน
สุสานสีตวันนั้น ทอดพระเนตรเห็นที่จงกรมเปื้อนเลือด ทรงโอวาท
พระเถระโดยโอวาทเทียบดังพิณ ตรัสบอกกัมมัฏฐานแก่พระเถระ
เพื่อให้ประกอบความเพียรเพลา ๆ ลงบ้าง แล้วเสด็จไปยังภูเขา
คิชฌกูฎ ฝ่ายพระโสณเถระได้พระโอวาทในที่ต่อพระพักตร์ของ
พระทศพล ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล. ต่อมาภายหลัง
พระศาสดา มีหมู่ภิกษุแวดล้อมทรงแสดงธรรมในพระเชตวันวิหาร
ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร.


จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ประวัติพระโสณกุฏิกัณณเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
ถ้อยคำท่านเรียกว่า วากฺกรณ ในบทว่า กลฺยาณวากฺกรณานํ.
อธิบายว่า ถ้อยคำอันงามคือถ้อยคำอันไพเราะ จริงอยู่ พระเถระนี้
กล่าวธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ แด่พระตถาคตในพระคันธกุฏี
เดียวกันกับพระทศพล. ครั้งนั้น พระศาสดาได้ประทานสาธุการ
แก่ท่าน เพราะฉะนั้น พระเถระนั้นจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุ
ผู้มีวาจาไพเราะ คำว่า โสณะ เป็นชื่อของท่าน แต่ท่านทรงเครื่อง
ประดับหู (ตุ้มหู) มีค่าถึงโกฏิหนึ่ง เพราะฉะนั้นเขาพึงเรียกว่า
กุฏิกัณณะ หมายความว่าพระโสณะผู้มีตุ้มหูราคาโกฏิหนึ่ง ในปัญหา
กรรมของท่านมีสิ่งที่จะพึงกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-
แม้พระเถระนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ. ไป
วิหารกับมหาชนโดยนัยก่อนนั้นแล ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เป็นยอด
ของเหล่าภิกษุผู้มีวาจาไพเราะ จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นยอดของ
เหล่าภิกษุผู้มีวาจาไพเราะในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ในอนาคต จึงนิมนต์พระทศพลถวายทาน 7 วัน ได้กระทำความ
ปรารถนาว่า พระเจ้าข้า พระองค์ทรงตั้งภิกษุใจไวในตำแหน่ง
ภิกษุผู้มีวาจาไพเราะ วันสุดท้ายใน 7 วันนับแต่วันนี้ แม้ข้าพระองค์
พึงเป็นเหมือนอย่างภิกษุนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง