เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 4



ประวัติพระสุภูติเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทกฺขิเณยฺยานํ แปลว่า ผู้ควรแก่ทักษิณา พระขีณาสพ
ทั้งหลายเหล่าอื่นก็ชื่อว่า พระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ในบทว่า
ทกฺขิเณยฺยานํ นั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พระเถระกำลังบิณฑบาต
ก็เข้าฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ ออกจากสมาบัติแล้ว จึงรับภิกษา
ในเรือนทุกหลัง ด้วยทายกผู้ถวายภิกษาจักมีผลมาก เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ผู้ควรแก่ทักขิณา อัตภาพของท่านงามดี รุ่งเรื่อง
อย่างยิ่งดุจซุ้มประตูที่เขาประดับแล้วและเหมือนแผ่นผ้าวิจิตร
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สุภูติ ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับดังต่อไปนี้ :-
เล่ากันว่า ท่านสุภูตินี้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
ในกงหงสวดี ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า นันทมาณพ ท่าน
เจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท ไม่เห็นสาระในไตรเพทนั้น พร้อมด้วย
บริวารของตนมีมาณพประมาณ 44,000 คนออกบวชเป็นฤาษี
อยู่ ณ เชิงบรรพต ทำอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ให้บังเกิดแล้ว
ได้กระทำแม้อันเตวาสิกทั้งหลายให้ได้ฌานแล้ว. ในสมัยนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระทรงบังเกิดในโลก ทรงอาศัย
กรุงหงสวดีประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูสัตวโลก