เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 8



ประวัติพระปิณโฑลภารทวาชะ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สีหนาทิกานํ ความว่า ผู้บันลือสีหนาท คือพระ-
บิณโฑลภารทวาชะเป็นยอด ได้ยินมาว่า ในวันบรรลุพระอรหัต
ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ
นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย
ในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามเราดังนี้ ท่านยืนต่อพระพักตร
พระพุทธทั้งหลายบันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจที่
ควรกระทำในศาสนานี้ถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น ชื่อว่าผู้ยอดของเหล่า
ภิกษุผู้บันลือสีหนาท ก็ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับต่อไปนี้

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระ-
ปิณโฑลภารทวาชะนี้ บังเกิดในกำเนิดสีหะ ณ เชิงบรรพต พระ-
ศาสดาทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นเหตุสมบัติของท่าน (ความถึงพร้อม
แห่งเหตุ) จึงเสร็จทรงบาตรในกรุงสาวัตถี ภายหลังเสวยภัตตาหาร
แล้ว ในเวลาใกล้รุ่ง เมื่อสีหะออกไปหาเหยื่อ จึงทรงเข้าไปยังถ้ำ
ที่อยู่ของสีหะนั้น ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเข้านิโรธสมาบัติ
พระยาสีหะได้เหยื่อแล้ว กลับมาหยุดอยู่ที่ประตูถ้ำ เห็นพระทศพล
ประทับนั่งภายในถ้ำ ดำริว่า ไม่มีสัตว์อื่นที่ชื่อว่าสามารถจะมา

นั่งยังที่อยู่ของเรา บุรุษนี้ใหญ่แท้หนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำ
ได้ แม้รัศมีสรีระของท่านก็แผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่า
อัศจรรย์ถึงเพียงนี้ บุรุษนี้ จักเป็นยอดของปูชนียบุคคลในโลกนี้
แม้เราควรกระทำสักการะตามสติกำลังถวายพระองค์ จึงไปนำ
ดอกไม้ต่าง ๆ ทั้งที่เกิดในป่า ทั้งที่เกิดบนบกลาดเป็นอาสนะดอกไม้
ตั้งแต่พื้นจนถึงที่นั่งขัดสมาธิ ยืนนมัสการพระตถาคตในที่ตรง
พระพักตรตลอดคืนยังรุ่ง รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำดอกไม้เก่าออก เอา
ดอกไม้ใหม่ลาดอาสนะโดยทำนองนี้ เที่ยวตกแต่งปุบผาสนะถึง 7 วัน
บังเกิดปีติโสมนัสอย่างแรง ยืนเฝ้าอยู่ที่ประตูถ้ำ ในวันที่ 7 พระ-
ศาสดาออกจากนิโรธ ประทับยืนที่ประตูถ้ำ พระยาสีหะราชา
แห่งมฤคกระทำประทักษิณพระตถาคต 3 ครั้ง ไหว้ในที่ทั้ง 4
แล้วถอดออกไปยืนอยู่ พระศาสดาทรงดำริว่า เท่านี้จักพอเป็น
อุปนิสัยแก่เธอ เหาะกลับไปพระวิหารตามเดิม ฝ่ายพระยาสีหะนั้น
เป็นทุกข์เพราะพลัดพรากพระพุทธองค์กระทำกาละแล้วถือปฏิสนธิ
ในตระกูลมหาศาลในกรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว วันหนึ่งไปพระวิหาร
กับชาวกรุง ฟังพระธรรมเทศนา บำเพ็ญมหาทาน 7 วัน โดยนัย
ที่กล่าวแล้วแต่หลัง กระทำกาละในภพนั้น เวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลใน
กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยชื่อมีชื่อว่า ภารทวาชะ
ท่านเจริญวัยแล้ว ศึกษาไตรเพทเที่ยวสอนมนต์แก่มาณพ 500 คน
ท่านรับภิกษาของมาณพทุกคนด้วยตนเองเที่ยวในที่ที่เขาเชื้อเชิญ
เพราะตนเป็นหัวหน้า เขาว่าท่านภารทวาชะนี้เป็นคนมักโลเล
อยู่นิดหน่อย คือเที่ยวแสวงหาข้าวต้มข้าวสวยและของเคี้ยวไม่ว่า

ในที่ไหน ๆ กับมาณพเหล่านั้น ในที่ที่ท่านไปแล้วไปอีกก็ต้อนรับ
เพียงข้าวถ้วยเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงปรากฏชื่อว่า ปิณโฑลภาระ-
ทวาชะ
วันหนึ่งเมื่อพระศาสดาเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ท่านได้ฟัง
ธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้ว บวชบำเพ็ญวิปัสสนา ได้บรรลุพระ-
อรหัตแล้ว ในเวลาที่ท่านบรรลุพระอรหัตนั่นเอง ท่านถือเอาผ้า
ปูนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณนี้ไปบริเวณโน้น
เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ขอท่าน
ผู้นั้นจงถามเราเถิด

วันหนึ่ง เศรษฐีในกรุงราชคฤห์เอาไม่ไผ่ต่อ ๆ กันขึ้นไป
แขวนบาตรไม้แก่นจันทน์ มีสีดังดอกชัยพฤกษ์ไว้ในอากาศ ท่าน
เหาะไปถือเอาด้วยฤทธิ์ เป็นผู้ที่มหาชนให้สาธุการแวดล้อมไป
พระวิหาร วางไว้ในพระหัตถ์ของพระตถาคตแล้ว พระศาสดา
ทรงทราบอยู่สอบถามว่า ภารทวาชะ เธอได้บาตรนี้มาแต่ไหน
ท่านจึงเล่าเหตุการณ์ที่ได้มาถวาย พระศาสดาตรัสว่า เธอแสดง
อุตตริมนุสสธรรมเห็นปานนี้แก่มหาชน เธอกระทำกรรมสิ่งที่ไม่ควร
ทำแล้ว ทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรแสดงอุตตริมนุสสธรรมอันเป็น
อิทธิปาฏิหาริย์แก่พวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ใดขืนแสดงต้องอาบัติ
ทุกกฎ" ดังนี้ ทีนั้นเกิดพูดกันในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า พระเถระ
ที่บันลือสีหนาทในวันที่ตนบรรลุพระอรหัต บอกในท่ามกลางภิกษุ-
สงฆ์ว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้
ในที่ต่อพระพักตรพระพุทธเจ้า ก็ทูลถึงการบรรลุพระอรหัตของตน

พระสาวกเหล่าอื่นก็นิ่ง โดยความที่ตนชอบบันลือสีหนาทนั่นเอง
แม้จะทำมหาชนให้เกิดความเลื่อมใสเหาะไปรับบาตรไม้แก่นจันทน์
ภิกษุเหล่านั้นกระทำคุณทั้ง 3 เหล่านี้เป็นอันเดียวกัน กราบทูล
แก่พระศาสดาแล้ว ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง
ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ย่อมทรงสรรเสริญ ผู้ที่ควรสรรเสริญ ใน
ฐานะนี้ พระศาสดาทรงถือว่า ความเป็นยอดของพระเถระที่สมควร
สรรเสริญนั้นแหละ แล้วสรรเสริญพระเถระว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอินทรีย์ 3 นั่นแล เธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภารทวาช-
ภิกษุได้พยากรณ์พระอรหัตแลว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ เราทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้ อินทรีย์ 3 เป็นไฉน คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ 3 เหล่านี้แล เธอเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ภารทวาชภิกษุ พยากรณ์แล้วซึ่งพระอรหัตตผล
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ดังนี้ จึงทรงสถาปนา
ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุบันลือสีหนาทแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ประวัติพระปุณณมันตานีบุตรเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้.
คำว่า ปุณณมันตานีบุตร คือพระเถระชื่อว่า ปุณณะ โดยชื่อ
แต่ท่านเป็นบุตรของนางมันตานีพราหมณี (จึงชื่อว่า ปุณณมันตานี-
บุตร) ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ก่อนที่พระทศพลพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติ
ท่านปุณณะบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล กรุงหงสวดี ใน
วันขนานนามท่าน พวกญาติขนานนามว่า โคตมะ ท่านเจริญวัย
แล้วเรียนไตรเพท เป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ทั้งปวง มีมาณพ 500
เป็นบริวาร เที่ยวไป จึงพิจารณาไตรเพทดูก็ไม่เห็นโมกขธรรม
เครื่องพ้น คิดว่า ธรรมดาไตรเพทนี้เหมือนต้นกล้วย ข้างนอกเกลี้ยงเกลา
ข้างในหาสาระมิได้ การถือไตรเพทนี้เที่ยวไป ก็เหมือนบริโภคแกลบ
เราจะต้องการอะไรด้วยศิลปะนี้ จึงออกบวชเป็นฤาษีทำพรหมวิหาร
ให้บังเกิด เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมก็จักเข้าถึงพรหมโลก ดังนี้ จึงพร้อม
กับมาณพ 500 ไปยังเชิงเขาบวชเป็นฤาษีแล้ว ท่านมีชฏิล 18,000
เป็นบริวาร ท่านทำอภิญญา 5 สมาบัติ 8 ให้บังเกิดแล้ว บอก
กสิณบริกรรมแก่ชฏิลเหล่านั้นด้วย ชฏิลเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาท
ของท่าน บำเพ็ญจนได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 ทุกรูป.
เมื่อกาลเป็นเวลานานไกลล่วงไป ในเวลาที่โคตมดาบส
นั้นเป็นคนแก่ พระปทุมุตตระทศพลก็ทรงบรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ