เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 6



ประวัติพระภัททิยกาฬิโคธาบุตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุจฺจากุลิกานํ ความว่า ผู้เกิดในตระกูลสูง. บทว่า
ภทฺทิโย ได้แก่เจ้าศากยะผู้เป็นพระราชาออกผนวชพร้อมกับ
พระอนุรุทธเถระ. บทว่า กาฬิโคธายปุตฺโต ความว่า พระเทวีนั้น
เป็นผู้มีผิวดำ. ส่วนคำว่า โคธา เป็นนามของพระเทวีนั้น เพราะฉะนั้น
เขาจึงเรียกว่า นางกาฬิโคธา อธิบายว่า เป็นบุตรของนางกาฬิโคธา-
เทวีนั้น ถามว่า ก็พระเถระนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของภิกษุสาวก
ผู้มีตระกูลสูง เพราะเหตุไร ผู้ที่มีตระกูลสูงกว่าพระภัททิยะนั้น
ไม่มีหรือ. ตอบว่า ไม่มี จริงอยู่ พระมารดาของท่านเป็นใหญ่ที่สุด
ของเจ้าทั้งหมดโดยวัย ในระหว่างเจ้าสากิยานีทั้งหลาย ท่านสละ
ราชสมบัติที่มาถึงในสากิยสกุลอย่างนั้นออกผนวช เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของภิกษุผู้มีตระกูลสูงทั้งหลาย. อีกประการ
หนึ่ง พระภัททิยะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งความปรารถนาในปางก่อน
บังเกิดในราชตระกูลแล้วครองราชสมบัติถึง 500 ชาติติดต่อกัน
มาโดยลำดับ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า พระภัททิยะนั้น เป็นยอด
ของภิกษุผู้มีตระกูลสูง ก็ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับต่อไปนี้ :-

ความพิสดารว่า ในอดีตกาล แม้พระภัททิยะนี้ ครั้งพระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในสกุลมีโภคสมบัติมาก
ไปฟังพระธรรมตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ในวันนั้นได้เห็นพระ-
ศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่า
ภิกษุผู้มีตระกูลสูง จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นยอดของเหล่าภิกษุ
ผู้มีตระกูลสูงในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต
ดังนี้ จึงนิมนต์พระตถาคตถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข 7 วัน หมอบแทบบาทมูล ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้หวังสมบัติอย่างอื่นด้วยผลแห่งทาน
นี้ แต่ในอนาคตกาล ข้อข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มี
ตระกูลสูง ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด พระศาสดา
ทรงตรวจดูอนาคตเล็งเห็นความสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า กรรม
นี้ของท่านจักสำเร็จในที่สุดแห่งแสนกัปแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้า
พระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุ
ผู้มีตระกูลสูงในศาสนาของพระองค์ ดังนี้แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา
ภัตแล้ว เสด็จกลับวิหาร ครั้นท่านได้ฟังพยากรณ์แล้วจึงทูลถาม
กรรมที่จะให้เป็นไปสำหรับภิกษุผู้เกิดในตระกูลสูง ได้กระทำ
กรรมอันดีงามมากหลายจนตลอดชีวิตอย่างนี้คือ สร้างธรรมาสน์
ปูลาดเครื่องลาดบนธรรมาสน์นั้น พัดสำหรับผู้แสดงธรรม รายจ่าย
สำหรับพระธรรมกถึก โรงอุโบสถ กระทำกาละในอัตภาพนั้นแล้ว
เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในระหว่างพระทศพล
พระนามว่า กัสสป และพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา มาบังเกิดในเรือน
ของกุฏุมพีในกรุงพาราณสี

สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายองค์มาแต่ภูเขาคันธมาทน์
นั่งฉันบิณฑบาตในที่ ๆ สะดวกสบาย ใกล้ฝั่งแม่นํ้าคงคา เขตกรุง-
พาราณสี กุฎุมพีนั้นทราบว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น กระทำ
การแบ่งปันภัตรนั้นในที่ตรงนั้นเป็นประจำทีเดียว จึงลาดแผ่นหิน
ไว้ 8 แผ่น บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่จนตลอดชีพ
ตอนนั้น ท่านเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ถึงพุทธันดรหนึ่ง
ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงมาบังเกิดในขัตติยสกุลในกรุงกบิลพัสดุ์
และในวันขนานนาม พวกญาติทั้งหลายขนานนามของท่านว่า
ภัททิยกุมาร ภัททิยกุมารนั้นอาศัยบุญเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งในระหว่าง
กษัตริย์ 6 พระองค์ ตามนัยที่กล่าวไว้ในอนุรุทธสูตร ในหนหลัง
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน ทรงผนวชในสำนัก
ของพระศาสดาแล้วได้บรรลุพระอรหัต ต่อมาภายหลัง พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะว่า ภัตทิยะโอรสของพระนางกาฬิโคธา เป็นยอดของ
เหล่าภิกษุผู้มีตระกูลสูงในศาสนาของเรา.


จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ประวัติพระลกุณฏกภัททิยเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้
บทว่า มญฺชุสฺสรานํ แปลว่า มีเสียงหวาน. บทว่า ลกุณฺฎก-
ภทฺทิโย
ความว่า ท่านว่าโดยส่วนสูง เป็นคนเตี้ย โดยชื่อชื่อว่า
ภัททิยะ. ในปัญหากรรม แม้ของพระภัททิยะนั้น มีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับ ต่อไปนี้ :-
กล่าวโดยพิสดาร ท่านพระเถระแม้นี้ บังเกิดในตระกูลที่มี
โภคะมาก ในกรุงหงสวดี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ไปพระวิหารฟังธรรมตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล สมัยนั้น ท่านเห็น
พระภิกษุผู้มีเสียงไพเราะรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ เกิดจิตคิดว่า อัศจรรย์หนอ ต่อไปในอนาคต
เราพึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีเสียงไพเราะในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนภิกษุนี้ จึงนิมนต์พระศาสดาถวายมหาทานแด่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข 7 วัน แล้วหมอบลงแทบพระบาทของ
พระศาสดา ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่ง
ทานนี้ ข้าพระองค์มิได้หวังสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์
พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีเสียงไพเราะในศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่งเถิด พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตก็ทรงเห็นความ
สำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า กรรมของท่านนี้จักสำเร็จในที่สุดแห่ง