เมนู

สารสูตรที่ 5 มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

6. ปติฏฐิตสูตร



ว่าด้วยธรรมอันเอก



[1044] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน คือ ความไม่
ประมาท.
[1045] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้
ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
[1046] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว แม้ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบปติฏิฐิตสูตรที่ 6

อรรถกถาปติฏฐิสูตร



ปติฏฐิตสูตรที่ 6.

คำว่า ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรม
ที่มีอาสวะ
คือ ผู้ปรารภธรรมที่เป็นไปในสามภูมิแล้วห้ามการเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะ ชื่อว่าย่อมรักษาในสิ่งที่เป็นอาสวะและที่ประกอบด้วยอาสวะ.
จบอรรถกถาปติฏฐิตสูตรที่ 6

7. พรหมสูตร



ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม



[1047] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้
อชปาลนิโครธ
แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ทรงเกิดความปริวิตกแห่งพระ-
หฤทัยอย่างนี้ว่า อินทรีย์ 5 ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ 5 เป็นไฉน คือ
สัทธินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ 5
เหล่านี้ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
[1048] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความปริวิตกแห่งพระ-
หฤทัยด้วยใจแล้ว จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องของพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคเจ้า เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
[1089] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ 5
ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ 5 เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำ