เมนู

[1036] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว
ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นอเสขะ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 5 คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด
อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย
ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และ
ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.
[1037] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะ
ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 6 คือ จักขุนทรีย์ 1 โสตินทรีย์ 1 ฆานินทรีย์ 1 ชิวหิน-
ทรีย์ 1 กายินทรีย์ 1 มนินทรีย์ 1 อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์
6 เหล่านี้จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ 6
เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหน ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่
ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ. 9 เ ส. ่ร 3
จบเสขสูตรที่ 3

อรรถกถาเสขสูตร



เสขสูตรที่ 3.

คำว่า น เหวโข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ได้แก่
ย่อมไม่ถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกายแล้วแลอยู่ อธิบายว่า ย่อมไม่อาจถูก
ต้องคือไ่ด้เฉพาะ. คำว่า แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ ก็แล
ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า ชื่อว่าอินทรีย์ คือ อรหัตผลเบื้อง
บน ยังมีอยู่. ในภูมิของอเสขะ คำว่า ถูกต้องแล้วอยู่ คือได้เฉพาะ
แล้วแลอยู่. คำว่า ด้วยปัญญา คือ ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า

ชื่อว่าอินทรีย์คืออรหัตผล ยังมีอยู่. แม้คำทั้งสองว่า น กุหิญฺจิ กิสฺมิญฺจ
ก็เป็นคำที่ใช้แทนกันและกัน. อธิบายว่า จะไม่เกิดขึ้นในภพไรๆ. ในสูตรนี้
อินทรีย์ทั้งห้าเป็นโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ 6 ที่เป็นโลกิยะ
อาศัยวัฏฏะเท่านั้น. ่
จบอรรถกถาเสขสูตรที่ 3

5. ปทสูตร



บทธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้



[1038] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่น
ดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอย
เท้าช้าง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้
ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ
ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งบทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ
ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1039] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทแห่งธรรมทั้งหลายเป็นไฉน ย่อม
เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ได้แก่บทแห่งธรรม คือ สัทธินทรีย์ . . .วิริยินทรีย์ .....
สตินทรีย์...สมาธินทรีย์ ..ปัญญินทรีย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.
จบปทสูตรที่ 4

อรรถกถาปทสูตร



ปทสูตรที่ 4.

คำว่า บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็น
ไปเพื่อความตรัสรู้
คือ บทธรรมบทใดบทหนึ่ง ได้แก่ส่วนธรรมส่วนใด
ส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.
จบอรรถกถาปทสูตรที่ 4