เมนู

[1036] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว
ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นอเสขะ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 5 คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด
อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย
ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และ
ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.
[1037] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะ
ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 6 คือ จักขุนทรีย์ 1 โสตินทรีย์ 1 ฆานินทรีย์ 1 ชิวหิน-
ทรีย์ 1 กายินทรีย์ 1 มนินทรีย์ 1 อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์
6 เหล่านี้จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ 6
เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหน ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่
ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ. 9 เ ส. ่ร 3
จบเสขสูตรที่ 3

อรรถกถาเสขสูตร



เสขสูตรที่ 3.

คำว่า น เหวโข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ได้แก่
ย่อมไม่ถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกายแล้วแลอยู่ อธิบายว่า ย่อมไม่อาจถูก
ต้องคือไ่ด้เฉพาะ. คำว่า แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ ก็แล
ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า ชื่อว่าอินทรีย์ คือ อรหัตผลเบื้อง
บน ยังมีอยู่. ในภูมิของอเสขะ คำว่า ถูกต้องแล้วอยู่ คือได้เฉพาะ
แล้วแลอยู่. คำว่า ด้วยปัญญา คือ ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า