เมนู

ที่มีความน้อมเชื่อไปเป็นลักษณะ ชื่อว่าเป็นสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวใน
อินทรีย์ที่ไม่พึงเชื่อ ความที่คุณธรรมนอกนี้เป็นอินทรีย์ ก็เพราะอรรถว่า
ใหญ่ในลักษณะคือความประคับประคอง ความปรากฏ ความไม่ฟุ้งซ่านและ
ความรู้ชัด. พึงทราบความเป็นพละเพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน
ความลืมสติ ความซัดส่ายและความไม่รู้. พึงทราบเหตุที่ทำให้อินทรีย์และ
พละเหล่านั้น ไม่แตกต่างกันด้วยอำนาจ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
เหมือนกระแสน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำนั้น ด้วยคำว่า เอวเมว โข. พึงทราบ
เหตุที่ทำให้แตกต่างกัน ด้วยอำนาจอินทรีย์และพละ ด้วยอรรถว่าใหญ่และไม่
หวั่นไหวเหมือนกระแสน้ำสองสาย ฉะนั้น.
จบอรรถกถาสาเกตสูตรที่ 3

5. ปุพพโกฏฐกสูตร



พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า



[983] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพโกฎฐกะ ใกล้
กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว
ตรัสว่า
[984] ดูก่อนสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[985] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใน
เรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมจิตหยั่งสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น
พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้เเล้ว เห็นแล้ว
ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น
หมดความเคลือบแคลงสงสัยในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์
รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
[986] พ. ดีละ ๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชน-
เหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว
เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัยในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
จบปุพพโกฏฐกสูตรที่ 4

อรรถกถาปุพพโกฏฐกสูตร



ปุพพโกฏฐกสูตรที่ 4.

คำว่า หยั่งลงสู่อมตะ คือสู่ภายในอมฤต.
คำว่า มีอมตะเป็นเบื้องหน้า คือ ที่เกิดจากอมตะสำเร็จจากอมตะ. คำว่า
มีอมตะเป็นที่สุด คือสิ้นสุดที่อมตะ. คำว่า สาธุ สาธุ ดีละ ๆ คือ เมื่อ
จะทรงสรรเสริญคำพยากรณ์ของพระเถระ ก็ประทานสาธุการ.
จบอรรถกถาปุพพโกฏฐกสูตรที่ 4

5. ปฐมปุพพารามสูตร



ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่



[987] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมารดา ในปุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความ