เมนู

อรรถกถาอุณณาภพราหมสูตร



อุณณาภพราหมณสูตรที่ 2.

คำว่า โคจรวิสยํ ได้แก่อารมณ์
อันเป็นที่เที่ยวไป (ของจิต). คำว่า ของกันและกัน คือ อินทรีย์อย่างหนึ่ง
ย่อมไม่เสวยอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง เช่นตาจะเสวยอารมณ์แทนหูไม่ได้ หรือหู
จะเสวยอารมณ์แทนตา (ก็ไม่ได้) จริงอยู่ หากจะเอาอารมณ์คือรูปที่แตกต่าง
กันด้วยสีเขียวเป็นต้น มารวมกันแล้วก็ป้อนเข้าไปให้โสตินทรีย์ว่า เอาสิ
แกลองชี้แจงมันมาให้แจ่มแจ้งทีว่า นี่มันชื่ออารมณ์อะไรกัน ? จักษุวิญญาณ
แม้จะยกเอาปากออกแล้ว ก็จะต้องพูดโดยธรรมดาของตนอย่างนี้ว่า เฮ้ย !
ไอ้บอดโง่ ต่อให้แกวิ่งวุ่นตั้งร้อยปี พันปีก็ตาม นอกจากข้าแล้ว แกจะได้
ผู้รู้อารมณ์นี้ที่ไหน แกลองนำเอามันมาป้อนเข้าไปที่จักษุประสาทสิ ข้าจะ
รู้จักอารมณ์ ไม่ว่ามันเป็นสีเขียวหรือสีแดง เพราะนี่มันมิใช่วิสัยของผู้อื่น
แต่มันเป็นวิสัยของข้าเองเท่านั้น . แม้ในทวารที่เหลือก็ทำนองนี้แหละ อินทรีย์
เหล่านี้ ชื่อว่าไม่เสวยอารมณ์ของกันและกันดังที่ว่ามานี้.
คำว่า กึ ปฏิสรณํ คือ ท่านถามว่า อะไรเป็นที่พึ่งอาศัยของ
อินทรีย์เหล่านี้ คืออินทรีย์เหล่านี้พึ่งอะไร. คำว่า มโน ปฏิสรณํ คือใจ
ที่เป็นชวนะ (แล่นไปเสพอารมณ์) เป็นที่พึ่งอาศัย. คำว่า มโน จ เนสํ
ความว่า ใจนั่นแล ที่แล่นไปตามมโนทวารนั่นแหละ ย่อมเสวยอารมณ์ของ
อินทรีย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความรักเป็นต้น. จริงอยู่ จักษุวิญญาณ เห็น
แต่รูปเท่านั้นเอง ความรักความโกรธหรือความหลงในความรู้แจ้งทางตานี้
หามีอยู่ไม่ แต่ชวนะในทวารหนึ่ง ย่อมรัก โกรธ หรือหลง. แม้ใน
โสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ในเรื่องนั้นมีข้อเปรียบเทียบดังนี้.