เมนู

[965] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้
จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ถึงท่านจะติความแก่อันเลวทราม ถึง
ท่านจะติความแก่อันทำให้ผิวพรรณทราม
ไป รูปอันน่าพึงใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีอยู่
นั่นเอง แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปี (ผู้
นั่นเองก็ไม่พ้นความตายไปได้) สัตว์ทั้งปวงมี
ความตายเป็นเบื้องหน้า ความตายย่อมไม่
ละเว้นอะไร ๆ ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว.

จบชราสูตรที่ 1

ชราวรรคที่ 5



อรรถกถาชราสูตร



ชราวรรคที่ 5 สูตรที่ 1.

คำว่า ปจฺฉาตปเก (มีแดดอยู่ทาง
หลัง)
คือมีแดดอยู่ทางทิศตะวันตกเเห่งปราสาท เพราะเงาปราสาทบังทิศ-
ตะวันออก อธิบายว่า เสด็จประทับนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ที่ปูไว้ในที่นั้น.
คำว่า ผินพระปฤษฎางค์ผิงแดด ความว่า เพราะในพระสรีระที่เป็น
อุปาทินนกสังขารแท้ของพระสัมพุทธเจ้า ในเวลาร้อนก็ร้อน ในเวลาเย็นก็
เย็น ก็สมัยนี้เป็นสมัยหนาวมีน้ำค้างตก ฉะนั้น ในเวลานั้นจึงทรงเอา
มหาจีวรออกแล้ว เสด็จประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ผิงแดด. ถามว่า แสงแดด

สามารถข่มรัศมีพระพุทธเจ้าเข้าไปภายในได้หรือ. ตอบว่าไม่ได้. เมื่อเป็นเช่นนี้
อะไรส่องให้ร้อน. เดชแห่งรัศมีส่องให้ร้อน เหมือนอย่างว่า แสงแดดถูกต้องตัว
คนที่นั่งโคนไม้ใต้ร่มที่เป็นปริมณฑลในเวลาเที่ยงไม่ได้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น
ความร้อนก็ยังแผ่ไปทุกทิศ เหมือนเอาเปลวไฟมาล้อมรอบ ฉันใด ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อแสงแดดไม่สามารถข่มรัศมีพระพุทธเจ้าแล้วแทรกเข้าไปข้าง
ในได้ ก็พึงทราบว่าพระศาสดาประทับนั่งรับความร้อนอยู่. คำว่า บีบนวด
คือทรงลูบขยำด้วยอำนาจทำการผิงพระปฤษฎางค์. คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์ คือ พระเถระปลดมหาจีวรออกจากพระปฤษฎางค์ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้เห็นรอยหย่อนยานเท่าปลายผม เหมือน ขดทองคำในระหว่าง
ปลายพระอังสะ (บ่า) ทั้งสองข้างของพระองค์ผู้ประทับนั่งเกิดความสังเวช
เมื่อจะตำหนิความแก่ว่า แม้แต่ในพระสรีระขนาดนี้ ก็ยังปรากฏมีความแก่จน
ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น. นัยว่า นี้ชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์สำหรับช่างติ. เมื่อแสดง
ว่าพระฉวีวรรณที่หมดจดโดยปกติ ไม่อย่างนั้นเสียแล้ว จึงทูลอย่างนี้ว่า
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้หมดจดเหมือนเมื่อก่อนไม่ พระเจ้าข้า. จริง
เมื่อเวลาที่พระตถาคตเจ้า ยังทรงหนุ่มอยู่ พระวรกายไม่มีรอยย่น เหมือน
หนังโคที่เขาเอาขอตั้งร้อยเล่ม มาดึงขึงให้เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้. ฝุ่น-
ละอองที่มาตั้งไว้ในพระหัตถ์นั้น ก็ตกหล่นไป ค้างอยู่ไม่ได้เลย เหมือนถึง
อาการเช็ดด้วยน้ำมัน แต่ในยามแก่เฒ่า (สำหรับคนทั่วไป) เปลวที่ศีรษะ
ก็เหี่ยวห่อไป แม้แต่ข้อต่อก็ห่างกันออกไป เนื้อก็ไม่เกาะกระดูกสนิท ถึง
ความหย่อนยานห้อยย้อยไปในที่นั้น ๆ. แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาเป็น
อย่างนั้นไม่ อาการดังที่มานี้ หาได้ปรากฏแก่คนเหล่าอื่นไม่ ปรากฏแต่แก่
พระอานนทเถระเท่านั้น เพราะท่านอยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น ท่านจึงทูลอย่างนั้น.
คำว่า พระสรีระหย่อนย่น คือ เกลียวย่นปรากฏในที่นั้น ๆ คือ ที่หน้า

ที่ระหว่างจะงอยบ่า ของคนเหล่าอื่น แต่สิ่งนั้นหามีแก่พระศาสดาไม่ แต่พระ
เถระมองเห็นขดรอยย่นระหว่างปลายพระอังสะทั้งสองข้าง จึงได้ทูลอย่างนั้น.
แม้คำว่า สัณฐานเกิดเป็นเกลียวนี้ ท่านก็กล่าวด้วยอำนาจที่ปรากฎแก่ตน
เท่านั้น. แต่รอยย่นเหมือนของคนเหล่าอื่นหามีแก่พระศาสดาไม่. คำว่า
พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า คือ พระศาสดาทรงมีพระกายตรงเหมือนกาย
พรหม คือ พระกายของพระองค์สูงตรงขึ้นไป เหมือนเสาหลักทองคำที่ปัก
ไว้ในเทพนคร แต่เมื่อทรงพระชราแล้ว พระกายก็ค้อมไปข้างหน้า และท่าน
ว่า พระกายที่ค้อมไปข้างหน้านี้ หาปรากฏแก่คนเหล่าอื่นไม่
ปรากฏแต่แก่พระเถระเท่านั้น เพราะท่านอยู่ใกล้ชิด
ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า และความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ทั้งหลายก็
ปรากฏ
คือ ที่ชื่อว่าอินทรีย์ทั้งหลาย หาใช่อินทรีย์ที่ต้องรู้แจ้งด้วยตาไม่ เพราะ
โดยปกติ พระฉวีวรรณก็หมดจดอยู่แล้ว แต่บัดนี้หาได้หมดจดอย่างนั้นไม่
รอยย่นปรากฏที่ระหว่างปลายพระอังสะ พระกายที่ตรงเหมือนกายพรหม ก็
โกงไปข้างหน้า ด้วยเหตุนี้แล ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยการถือเอานัยว่า ก็แล
ความที่อินทรีย์มีตาเป็นต้นแปรปรวนไปต้องมี.
คำว่า ธิ ตํ ชมฺมีชเร อตฺถุ ความว่า โธ่ ความแก่ลามก จงมีกะเจ้า
คือแก่เจ้า. ธิ อักษรคือ ความติเตียนจงถูกต้องเจ้า. อัตภาพ ชื่อว่า พิมพ์.
จบอรรถกถาชราสูตรที่ 1
* พม่าเป็น สพฺพานิ ฉบับอรรถกถาไทยเป็น สณฺฐานิ

2. อุณณาภพราหมณสูตร



อินทรีย์ 5 มีอารมณ์ต่างกัน



[966] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้-
มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
[967] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์ 5 ประการนี้ มีอารมณ์
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ 5
ประการเป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ 1 โสตินทรีย์ 1 ฆานินทรีย์ 1 ชิวหินทรีย์ 1
กายินทรีย์ 1 อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ 5 ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และอะไร
ย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ 5 ประการนี้.
[968] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อินทรีย์ 5
ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจร
ของกันและกัน อินทรีย์ 5 ประการเป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ 1 โสตินทรีย์ 1
ฆานินทรีย์ 1 ชิวหินทรีย์ 1 กายินทรีย์ 1 ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ 5
ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจร
ของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ 5 ประการนี้.
[969] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ.
[970] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า.