เมนู

[851] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งรู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์
และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์... สติน-
ทรีย์... สมาธินทรีย์... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์
ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์
ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็น
สมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 7

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตร



สูตรที่ 7.

คำว่า ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ คือไม่เข้าใจด้วยอำนาจ
แห่งทุกขสัจ. คำว่า ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสัทธินทรีย์ คือไม่เข้า
ใจชัดด้วยอำนาจสมุทัยสัจ ไม่เข้าใจชัดนิโรธด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจ ไม่เข้า
ใจชัดทางปฏิบัติ ด้วยอำนาจมรรคสัจ อย่างนี้แล. แม้ในคำที่เหลือก็นัย
นี้แหละ.
ส่วนในฝ่ายขาว การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการ
เกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจอธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ). การ
เกิดขึ้นพร้อมแห่งวิริยินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณา
ด้วยอำนาจการประคับประคองจิตไว้ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสตินทรีย์ ย่อมมีได้

ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจการเข้าไปตั้งจิตใจ (การ
ปรากฏ) การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสมาธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อม
แห่งการพิจารณาด้วยอำนาจความไม่ซัดส่าย (ไม่ฟุ้งซ่าน) การเกิดขึ้นพร้อม
แห่งปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ
ทรรศนะ (ความเห็น).
อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการ
เกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจฉันทะ (ความพอใจ). การเกิดขึ้น
พร้อมแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้
ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจฉันทะ. การเกิดขึ้นพร้อม
แห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ
มนสิการ (การใส่ใจ). การเกิดขึ้นพร้อมแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
และปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ
มนสิการ. พึงทราบใจความแม้ด้วยประการฉะนี้. ใน 6 สูตรตามลำดับเหล่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงเกี่ยวกับสัจจะสี่ประการนั่นเอง.
จบอรรถกถาทุติยสมรพรหมณสูตรที่ 7

8. ทัฏฐัพพสูตร



ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ 5 ในธรรมต่าง ๆ



[852] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[853] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า.
ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.
[854] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในสัมมัปปธาน 4
พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.
[855] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในสติปัฏฐาน 4
พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมนี้.
[856] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในฌาน 4 พึงเห็น
สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
[857] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในอริยสัจ 4 พึง
เห็นปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
จบทัฏฐัพสูตรที่ 8