เมนู

แล้ว ก็อุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง
แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่
เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเบกขินทรีย์ และ
น้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
จบสูตรที่ 10
จบสุขินทริยวรรคที่ 4

อรรถกถาอุปปฏิกสูตร



อุปปฏิกสูตรที่ 10.

ยถาธรรมเทศนาที่ไม่จำเป็นต้องแสดงพึงทราบ
ว่า ชื่อว่าเป็นสูตรที่นอกเหนือไปจากลำดับ (ไม่เข้าลำดับ) เหมือนอย่างสูตร
ที่เหลือในอินทริยวิภังค์แม้ที่กล่าวแล้วตามลำดับนี้.
ในสูตรที่ 10 นั้น คำทั้งหมดเป็นต้น ว่า นิมิต เป็นคำใช้แทนปัจจัย
นั่นเอง. คำว่า และย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ คือ ย่อมรู้ด้วยอำนาจทุกขสัจนั่น
เอง. คำว่า ทุกฺขินฺ ทริยสมุทยํ คือวิญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถูกหนามตำเอา ถูกเรือดกัด หรือถูกรอยย่นที่ปูนอนกระทบ
ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้นว่าเป็นเหตุให้เกิดขึ้นพร้อมของทุกขินทรีย์นั้น. พึงทราบสมุทัย
ด้วยอำนาจเหตุแห่งอินทรีย์เหล่านั้นแม้ในบทเป็นต้นว่า โทมนสฺสินทริย-
สมุทยํ
ข้างหน้า. โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจความฉิบหาย
แห่งสังขารข้างนอกมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือแห่งเหล่าสัตว์มีสัทธิวิหาริก
เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ย่อมรู้ชัดความฉิบหายแห่งสังขารและสัตว์