เมนู

ก็พึงทราบใจความตามนี้. ส่วนในคำว่า ทางกาย หรือทางใจ นี้ ท่าน
กล่าวว่าทางกายด้วยอำนาจการเกิดขึ้น เพราะทำกายประสาททั้ง 4 มีตาเป็นต้น
ให้เป็นที่ตั้ง. ส่วนที่ชื่อว่าอทุกขมสุขที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง ไม่มี.
จบอรรถกถาปฐมวิภังคสูตร

7.ทุติยวิภังคสูตร*



ว่าด้วยอินทรีย์ 5 เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข



[931] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.
[932] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทาง
กาย ...นี้ เรียกว่า สุขินทรีย์.
[933] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางกาย. . .นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
[934] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข
ทางใจ ...นี้ เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.
[935] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางใจ ...นี้ เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.
[936] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน
สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า
อุเบกขินทรีย์.
* สูตรที่ 7-9 ไม่มีอรรถกถาแก้.