เมนู

[927] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทาง
กาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส
นี้ เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
[928] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข
ทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่มโนสัมผัส นี้ เรียก
ว่า โสมนัสสินทรีย์.
[929] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.
[930] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน
สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้ เรียกว่า
อุเบกขินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
จบปฐมวิภังคสูตรที่ 6

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร



ปฐมวิภังคสูตรที่ 6.

คำว่า กายิกํ ทางฺกาย ได้แก่ สุขที่มีกาย
ประสาทเป็นที่ตั้ง นี้เป็น คำแสดงสรุปของสุขนั้น ด้วยประการฉะนี้. คำว่า
สาตะ (ความสำราญ) ก็เป็นคำใช้แทนคำว่าสุขนั้นเอง. นี้อธิบายว่าอร่อย.
คำว่า กายสมฺผสฺสชํ เกิดแต่กายสัมผัส ก็มีทำนองที่กล่าวแล้วว่า ความสุข
ความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส. คำว่า เวทยิตํ นี้เป็นคำแสดงสภาวะที่วิเศษ
ของธรรมข้ออื่นจากเวทนาที่ทั่วไปทั้งหมดของสุขนั้น. แม้ในข้อที่เหลือทั้งหลาย

ก็พึงทราบใจความตามนี้. ส่วนในคำว่า ทางกาย หรือทางใจ นี้ ท่าน
กล่าวว่าทางกายด้วยอำนาจการเกิดขึ้น เพราะทำกายประสาททั้ง 4 มีตาเป็นต้น
ให้เป็นที่ตั้ง. ส่วนที่ชื่อว่าอทุกขมสุขที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง ไม่มี.
จบอรรถกถาปฐมวิภังคสูตร

7.ทุติยวิภังคสูตร*



ว่าด้วยอินทรีย์ 5 เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข



[931] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.
[932] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทาง
กาย ...นี้ เรียกว่า สุขินทรีย์.
[933] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางกาย. . .นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
[934] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข
ทางใจ ...นี้ เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.
[935] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางใจ ...นี้ เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.
[936] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน
สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า
อุเบกขินทรีย์.
* สูตรที่ 7-9 ไม่มีอรรถกถาแก้.