เมนู

2. โปกขรณีสูตร



ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับน้ำปลายหญ้าคา



[1748] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณี โดยยาว
50 โยชน์ โดยกว้าง 50 โยชน์ สูง 50 โยชน์ เต็มด้วยน้ำเปี่ยมฝั่ง กาดื่ม
กินได้ บุรุษเอาปลายหญ้าคาจุ่มน้ำขึ้นจากสระนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่เขาเลาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น กับน้ำในสระโบกขรณี ไหน
จะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระ-
โบกขรณีมากกว่า น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำ
ในสระโบกขรณีแล้ว น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การ
เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก
ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบโปกขรณีสูตรที่ 2

3. ปฐมสัมเภชชสูตร



เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับหยดน้ำ



[1749] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ
แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด บุรุษตัก
น้ำ 2-3 หยดขึ้นจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน น้ำ

2-3 หยดที่เขาตักขึ้น กับน้ำที่ไหลไปประจบกัน ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกันมากกว่า
น้ำ 2-3 หยดที่เขาตักขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไปประจบกัน.
น้ำ 2-3 หยดที่เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วน
เสี้ยว.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริย-
สาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบปฐมสัมเภชชสูตรที่ 3

4. ทุติยสัมเภชชสูตร



เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับน้ำในแม่น้ำ



[1750] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ
แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด
น้ำนั้นพึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือน้ำ 2-3 หยด เธอทั้งหลายจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเทียบน้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป
กับน้ำ 2-3 หยดที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป มากกว่า
น้ำ 2-3 หยดที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไปประจบกัน
ซึ่งสิ้นไปหมดไปแล้ว น้ำ 2-3 หยดที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การ
เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.