เมนู

เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ
หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
[924] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งรู้ชัดซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์...โสมนัสสินทรีย์
.... โทมนัสสินทรีย์... อุเบกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับ
แห่งอุเบกขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเบกขินทรีย์ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ
และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 5

6. ปฐมวิภังคสูตร



ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์



[925] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็น
ไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.
[926] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางกาย
ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า
สุขินทรีย์.

[927] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทาง
กาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส
นี้ เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
[928] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข
ทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่มโนสัมผัส นี้ เรียก
ว่า โสมนัสสินทรีย์.
[929] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.
[930] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน
สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้ เรียกว่า
อุเบกขินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
จบปฐมวิภังคสูตรที่ 6

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร



ปฐมวิภังคสูตรที่ 6.

คำว่า กายิกํ ทางฺกาย ได้แก่ สุขที่มีกาย
ประสาทเป็นที่ตั้ง นี้เป็น คำแสดงสรุปของสุขนั้น ด้วยประการฉะนี้. คำว่า
สาตะ (ความสำราญ) ก็เป็นคำใช้แทนคำว่าสุขนั้นเอง. นี้อธิบายว่าอร่อย.
คำว่า กายสมฺผสฺสชํ เกิดแต่กายสัมผัส ก็มีทำนองที่กล่าวแล้วว่า ความสุข
ความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส. คำว่า เวทยิตํ นี้เป็นคำแสดงสภาวะที่วิเศษ
ของธรรมข้ออื่นจากเวทนาที่ทั่วไปทั้งหมดของสุขนั้น. แม้ในข้อที่เหลือทั้งหลาย