เมนู

พ. ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์ เป็นของยาก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก ธรรมวินัยที่
พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองใน โลก ก็เป็นของยาก ความเป็นมนุษย์นี้
เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรม
วินัยที่ตถาคตประะกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบทุติยฉิคคฬสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตร



พึงทราบอธิบายในทุติยฉิคคฬสูตรที่ 8.
คำว่า มหาปฐพี ได้แก่ แผ่นดินใหญ่ระหว่างจักรวาล.
คำว่า อธิจฺจมิทํ ความว่า ถ้าว่าแอกนั้นไม่พึงเน่า น้ำในทะเลจะ
ไม่แห้ง และเต่านั้นยังไม่ตาย เหตุนั้นก็จะพึงมีด้วยอำนาจตามความปรารถนา
ได้บ้าง. ในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก
อย่างนี้
นี้พระมหาสีวเถระได้แสดงยุตทั้ง 4 คือการได้ความเป็นมนุษย์ ชื่อว่า
ได้ยากอย่างยิ่ง เหมือนการทำเต่าตาบอดนั้น สอดคอเข้าไปทางช่องแอก ที่บุรุษ
ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกโยนใส่เข้าไป.
ก็การเกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงฝั่งก็ยากอย่างยิ่ง
เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศใต้ โยนใส่
เข้าไปแล้วหมุนไปรอบๆ อยู่ ถึงเเอกอันแรกแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบนโดยทาง
ช่องสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.

ก็การแสดงธรรมและวินัย ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้วชื่อว่าเป็น
เหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่า เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาล
ด้านทิศตะวันตกโยนใส่เข้าไปแล้ว หมุนไปรอบ ๆ แล้วถึงแอก 2 อันข้างบน
แล้วขึ้นสู่ช่องข้างบนโดยทางช่อง แล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.
ก็การแทงตลอดสัจจะ 4 พึงทราบว่า เป็นเหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่าอย่างยิ่ง
เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศเหนือ โยนใส่
เข้าไปแล้วหมุนไปรอบ ๆ อยู่ ถึงแอก 3 อันข้างบนแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบน
โดยทางช่องแล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่. สูตรที่ 8 เป็นต้น มีนัยตามที่กล่าว
แล้วในอภิสมยสังยุตนั่นเทียวแล.

จบอรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตรที่ 8
จบปปาตวรรควรรณนาที่ 5

9. ปฐมสิเนรุสูตร*



ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ



[1745] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหิน
ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนแห่งขุนเขาสิเนรุราช เธอจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนที่บุรุษเก็บแล้วกับขุน
เขาสิเนรุราช อย่างไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชมากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7
ก้อนที่บุรุษเก็บแล้ว น้อยกว่า เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุราชแล้ว ก้อนหิน
ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บไว้แล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ
การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
* สูตรที่ 9 - 10 ไม่มีอรรถกถาแก้.