เมนู

แปลว่า ก็ชื่อว่าเหล่าใด. คำว่า ให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือ ทำได้ยากกว่า.
คำว่า แทงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น 7 ส่วน
ความว่า พึงแบ่งขนทรายเส้นหนึ่งเป็น 7 ส่วน แล้วถือเอาส่วนที่แบ่งหนึ่งส่วน
แห่งขนทรายที่แบ่งนั้น แล้วผูกกลางผลมะเขือ ผูกขนทรายที่แบ่งแล้วเส้นอื่น
อีกเข้าที่ปลายสุดแห่งลูกธนู แล้วจึงยืนที่ทางประมาณอุสภะหนึ่ง แทงจำเพาะ
ปลายขนทรายที่ผูกผลมะเขือนั้น ด้วยปลายที่ผูกไว้ที่ลูกธนู. คำว่า เพราะเหตุ
นั้น
ความว่า เพราะสัจจะ 4 แทงตลอดได้ยากอย่างนี้.
จบอรรถกถาวาลสูตรที่ 5

6. อันธการีสูตร



ผู้รู้ตามความเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด



[1739] ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์
มืดคลุ้มมัวเป็นหมอก สัตว์ในโลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้.
[1740] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมาก
ความมืดนั้นมากแท้ ๆ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้
มีอยู่หรือ.
พ. ดูก่อนภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้
มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่า
ความมืดนี้ เป็นไฉน.
[1741] พ. ดูก่อนภิกษุ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความ
เกิด ฯลฯ ยินดีแล้วย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืด
คือความเกิด... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด... และความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไป
จากทุกข์.
[1742] ดูก่อนภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด
ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่
ความมืดคือความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากความเกิด... และความคับแค้นใจ ย่อมพ้น
ไปจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้
ตามความจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบอันธการีสูตรที่ 6

7. ปฐมฉิคคฬสูตร



ว่าด้วยความเป็นมนุษย์แสนยาก



[1743] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอกซึ่งมีช่อง
เดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ
มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนนั้นเป็นไฉน เต่า
ตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มัน จะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ จะสอดคอให้เข้าไป
ในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ได้บ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้งบางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไป
ในแอกนั้นได้บ้าง.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้น
คราวหนึ่ง ๆ สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เรา
ย่อมกล่าวความเป็นมนุษย์เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้วคราวเดียวก็หามิได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การ
ประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน
การเคี้ยวกินผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไปในวินิบาตนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ 4 อริยสัจ 4 เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุก-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ
ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบปฐมฉิคคฬสูตรที่ 7