เมนู

8. ทุติยสุริยูปมสูตร



พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ



[1721] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังไม่เกิด
ขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น
เวลานั้นมีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ เมื่อใด พระจันทร์
และพระอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่าง
มากก็ย่อมมี เวลานั้น ไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก กลางคืน
กลางวันปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่
อุบัติขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ยังไม่มี
เพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้
ง่าย ซึ่งอริยสัจ 4 ก็ยังไม่มี เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติ
ขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฎแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ย่อมมี เวลา
นั้นไม่มีความมือมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง.. . การกระ
ทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ 4 ก็ย่อมมี อริยสัจ 4 เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ทุขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ
ทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบทุติยสุริยูปมสูตรที่ 8

9. อินทขีลสูตร



ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้



[1722] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่น
ว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือ
ปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวางไว้ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ
แล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้น ไปทางทิศประจิมได้ ลมทิศ
ประจิมพึงพัดเอาไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัดเอาไปทางทิศทักษิณได้
ลมทิศทักษิณพึงพัดเอาไปทางทิศอุดรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปุยนุ่น
หรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา-
มินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ 4 ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1723] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์
อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนเสา
เหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้
ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ