เมนู

3. ทัณฑสูตร



ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ



[1716] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้าง
ขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอาตอนกลาง
ตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์
คืออวิชชา มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้น
เหมือนกัน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ 4 อริยสัจ 4 เป็นไฉน
คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงการทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบทัณฑสูตรที่ 3

อรรถกถาทัณฑสูตร



พึงทราบอธิบายในทัณฑสูตรที่ 3.
คำว่า จากโลกนี้ไป สู่ปรโลก ความว่า จากโลกนี้ไปโลกอื่น คือ
นรกบ้าง กำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง มนุษยโลกบ้าง เทวโลก
บ้าง. อธิบายว่า เกิดในวัฏฏะนั่นแหล่ะบ่อย ๆ.
จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ 3

4. เจลสูตร *



ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรับดับไฟบนศีรษะ



[1717] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
ควรจะกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะ
ที่ถูกไฟไหม้ เเล้วพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ
ไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4
ที่ยังไม่ตรัสรู้ ตามความเป็นจริง อริยสัจ 4 เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบเจลสูตรที่ 4
* สูตรที่ 4 ไม่มีอรรถกถาแก้.