เมนู

อรรถกถาควัมปดีสูตร



พึงทราบอธิบายในควัมปติสูตรที่ 10
คำว่า สหชนิยะ ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่อว่า สหชนิยะ. คำ
เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้
ทุกขสมุทัย ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอำนาจการแทงตลอด
อย่างเดียว. ก็ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสการแทงตลอดอย่างเดียวเท่านั้นแล.
จบอรรถกถาควัมปติสูตรที่ 10
จบโกฏิคามวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมวัชชีสูตร 2. ทุติยวัชชีสูตร 3. สัมมาสัมพุทธสูตร
4. อรหันตสูตร 5. อาสวักขยสูตร 6. มิตตสูตร 7. ตถสูตร 8.
โลกสูตร 9. ปริญเญยยสูตร 10. ควัมปติสูตร และอรรถกถา

สีสปาปัณณวรรคที่ 4



1. สีสปาสสูตร



เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น



[1712] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือใบประดู่ลาย 2-3 ใบด้วย
ฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย 2-3 ใบ
ที่เราถือด้วยผ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย 2-3 ใบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือด้วย
ฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.
พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอ
ทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุ ไร เราจึงไม่บอก. เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความ
คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก
[1713] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอก
แล้วว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไป
เพื่อความหน่าย... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงการทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบสีสปาสูตรที่ 1