เมนู

8. โลกสูตร



พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง



[1708] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้ 4 ประการเป็น
ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็นอริยะ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบโลกสูตรที่ 8

อรรถกถาโลกสูตร



พึงทราบอธิบายในโลกสูตรที่ 8.
คำว่า ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานิ ความว่า อริยสัจ
ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า เป็นของพระอริยะ. เพราะพระตถาคตผู้พระอริยะ ทรง
แทงตลอดและแสดงแล้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยสัจ
เพราะเป็นความจริงของพระอริยะ.
จบอรรถกถาโลกสูตรที่ 8

9. ปริญเญยยสูตร *



ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ 4



[1709] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้ 4 ประการ
เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ 4
ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ 4 ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ
ที่ควรกระทำให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ ก็อริยสัจที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน
ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ
ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เกิดมี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบปริญเญยยสูตรที่ 9

10. ควัมปติสูตร



ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่า เห็นในสมุทัย นิโรธมรรค



[1710] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ
แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูปกลับจากบิณฑบาตในเวลา
ปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันขึ้นในระหว่างประชุมว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแลย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข-
สมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
* สูตรที่ 9 ไม่มีอรรถกถาแก้.