เมนู

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา.
จบมิตตสูตรที่ 6

7. ตถสูตร



ว่าด้วยอริยสัจ 4 เป็นของจริงแท้



[1707] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้ 4 ประการเป็น
ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ .. . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ 4 ประการ
นี้แล เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียก
ว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ
ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบตถสูตรที่ 7

อรรถกถาตถสูตร



พึงทราบอธิบายในตถสูตรที่ 7.
คำว่า ตสฺมา อริยานํ สจฺจานิ ความว่า สัจจะทั้งหลาย เหล่านั้น
เป็นของแท้ ไม่เป็นโดยประการอื่น เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกว่า สัจจะของพระอริยะทั้งหลาย. ก็พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่แทงตลอด
สัจจะทั้งหลายที่แปรผันเป็นอย่างอื่น โดยความจริงของพระอริยะ.
จบอรรถกถาตถสูตรที่ 7

8. โลกสูตร



พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง



[1708] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้ 4 ประการเป็น
ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็นอริยะ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบโลกสูตรที่ 8

อรรถกถาโลกสูตร



พึงทราบอธิบายในโลกสูตรที่ 8.
คำว่า ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานิ ความว่า อริยสัจ
ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า เป็นของพระอริยะ. เพราะพระตถาคตผู้พระอริยะ ทรง
แทงตลอดและแสดงแล้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยสัจ
เพราะเป็นความจริงของพระอริยะ.
จบอรรถกถาโลกสูตรที่ 8