เมนู

5. อาสวักขยสูตร



ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ



[1705] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้
เห็น ไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น ก็ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อะไร ผู้
เห็นอะไร ความสิ้นอาสวะของผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์. . . นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบอาสวักขยสูตรที่ 5

6. มิตตสูตร



ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร



[1706] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่งและชนเหล่าใดจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม
จะพึงสำคัญถ้อยคำว่าเป็นสิ่งที่ตนควรเชื่อฟังชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้
สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง
อริยสัจ 4 เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็
เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง.. . ชนเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
พึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ 4 เหล่านี้แล
ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา.
จบมิตตสูตรที่ 6

7. ตถสูตร



ว่าด้วยอริยสัจ 4 เป็นของจริงแท้



[1707] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้ 4 ประการเป็น
ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ .. . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ 4 ประการ
นี้แล เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียก
ว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ
ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบตถสูตรที่ 7

อรรถกถาตถสูตร



พึงทราบอธิบายในตถสูตรที่ 7.
คำว่า ตสฺมา อริยานํ สจฺจานิ ความว่า สัจจะทั้งหลาย เหล่านั้น
เป็นของแท้ ไม่เป็นโดยประการอื่น เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกว่า สัจจะของพระอริยะทั้งหลาย. ก็พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่แทงตลอด
สัจจะทั้งหลายที่แปรผันเป็นอย่างอื่น โดยความจริงของพระอริยะ.
จบอรรถกถาตถสูตรที่ 7