เมนู

พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ 1 นั้นเสีย แล้ว
บัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ 1 อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ เรา
แสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ 4 เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยสัจข้อที่ 4 ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ 4 นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยสัจข้อที่ 4 อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ 4
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำ
ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบทุติยธารณสูตรที่ 6

7. อวิชชาสูตร



ว่าด้วยอวิชชา



[1694] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา ๆ ดังนี้ อวิชชา
เป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ใน
ความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา และด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่า ตกอยู่ในอวิชชา ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ
เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทา.
จบอวิชชาสูตรที่ 7