เมนู

ทรงให้เป็นไป ตราบจนถึงพระอัญญาโกณฑัญญเถระ กับพรหม 18 โกฏิ
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล และเมื่อให้ธรรมจักรเป็นไปแล้ว จึงชื่อว่าให้เป็นไป
แล้ว. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ธรรมจักรเป็นไปแล้ว ท่านหมายเอา
คำนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ภุมมเทวดาทั้งหลาย ประกาศให้ได้ยินเสียง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ เทวดาผู้ดำรงอยู่บน
พื้นดิน. คำว่า ประกาศให้ได้ยินเสียง ความว่า เทวดาทั้งหลายให้สาธุการ
พร้อมกันทีเดียว กล่าวคำเป็นต้นว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มี
พระภาคเจ้า . . . ดังนี้ ประกาศให้ได้ยินแล้ว. คำว่า แสงสว่าง ได้แก่ แสง
สว่างคือ พระสัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ แสงสว่าง คือพระสัพพัญญุตญาณนั้น
ไพโรจน์ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพ. คำว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
ความว่า เสียงกึกก้องอย่างโอฬารแห่งพระอุทานนี้ แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ
แล้วตั้งอยู่.
จบอรรถกถาปฐมตถาคตสูตรที่ 1

2. ทุติยตถาคตสูตร



จักษุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่างเกิดแก่พระตถาคต



[1674] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง
สว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น พระ-
ตถาคตทั้งหลายกำหนดรู้แล้ว.

[1675] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกข-
สมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจ นั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น
พระตถาคตทั้งหลายละได้แล้ว.
[1676] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกข-
นิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธ
อริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลายกระทำให้แจ้งแล้ว.
[1677] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง
สว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควร
เจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้ง
หลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น
พระตถาคตทั้งหลายเจริญแล้ว.
จบทุติยตถาคตสูตรที่ 2

3. ขันธสูตร



ว่าด้วยอริยสัจ 4



[1678] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้ อริยสัจ 4 เป็น
ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาอริยสัจ.
[1679] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ควรจะกล่าว
ได้ว่าอุปาทานขันธ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปา-
ทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.
[1680] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์
นั้น ๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้ เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[1681] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความดับด้วยการสำรอกโดย
ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย
ตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[1682] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[1683] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบขันธสูตรที่ 3