เมนู

อรรถกถาติรัจฉานกถาสูตร



พึงทราบอธิบายในติรัจฉานกถาสูตรที่ 10.
บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มีหลายอย่าง. คำว่า ติรัจฉานกถา
คือ ถ้อยคำที่เป็นเดรัจฉาน นอกทางสวรรค์และนิพพาน เพราะไม่เป็นการนำ
ออกจากทุกข์.ในคำว่า เรื่องพระราชา ดังนี้เป็นต้น ถ้อยคำที่ปรารภพระราชา
แล้ว เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามันธาตา พระเจ้า
ธรรมาโศก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า เรื่องพระราชา. แม้ในเรื่องโจร
เป็นต้นก็นัยนี้. ก็เรื่องความรักอาศัยเรือนโดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาพระราชา
เหล่านั้น พระราชาพระองค์นั้น มีรูปงาม น่าดู ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ก็ถ้อย
คำที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้ผู้มีชื่อนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้ถึงความสิ้น
ไป เสื่อมไปแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน แม้ในหมู่โจร การกล่าวคำ
แสดงความรักอาศัยเรือนว่า คำเหล่านั้น ได้มีแล้ว เพราะอาศัยกรรมของพวก
โจรนั้นว่า มูลเทพเป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ในการ
รบ ถ้อยคำด้วยอำนาจความใคร่และความยินดีว่า คนโน้น ถูกคนโน้น แทง
ในการรบเป็นต้นอย่างนี้ว่า ถูกฆ่าแล้วอย่างนี้นั่นเทียว ชื่อว่า ติรัจฉานกถา.
ก็ถ้อยคำที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า แม้พวกนั้นก็ถึงความสิ้นไปจัดเป็น
กรรมฐานในที่ทุกแห่งนั่นเทียว. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในเรื่องข้าวเป็นต้น การ
กล่าวด้วยอำนาจความใคร่และความยินดีว่า พวกเราจะเคี้ยว บริโภค ดื่มข้าว
เป็นต้นที่มีสีมีกลิ่น ถึงพร้อมด้วยรสและผัสสะ ย่อมไม่ควร. ส่วนการกล่าว

เรื่องที่มีประโยชน์ก่อนว่า พวกเราได้ถวายข้าว น้ำดื่ม ผ้า ยาน ที่นอน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่ถึงพร้อมด้วยสีเป็นต้น แก่ผู้มีศีลทั้งหลาย
พวกเราได้ทำการบูชาที่เจดีย์ ดังนี้ ก็ควร. แม้ในพวกญาติเป็นต้น การ
กล่าวด้วยอำนาจความยินดีว่า ญาติทั้งหลายของพวกเรา เป็นผู้แกล้วกล้า
สามารถ หรือว่า พวกเราเที่ยวด้วยยานอันงดงามอย่างนี้ในกาลก่อน ดังนี้
ย่อมไม่ควร.
ก็ควรกล่าวถ้อยคำว่า ญาติทั้งหลายของพวกเราแม้เหล่านั้น ทำสิ่งมี
ประโยชน์แล้วถึงความสิ้นไป หรือว่า ครั้งก่อนพวกเราได้ถวายยานเห็นปาน
นี้แก่พระสงฆ์. แม้ในเรื่องบ้านเป็นต้น การกล่าวด้วยอำนาจบ้านที่อยู่แล้วดี
อยู่ไม่ดีและหาอาหารง่ายยากเป็นต้น หรือด้วยความยินดีอย่างนี้ว่า ผู้ที่อยู่บ้าน
โน้นแกล้วกล้าสามารถ ดังนี้ ไม่ควร. ก็การกล่าวถึงเรื่องบ้านนั้นว่า คนทั้ง
หลาย ทำสิ่งให้ประโยชน์ มีศรัทธา เลื่อมใสแล้ว หรือว่า คนเหล่านั้นถึง
ความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้ ไม่ควร. แม้ในการกล่าวเรื่องอำเภอ นครและชน-
บท ก็นัยนี้ แม้การกล่าวเรื่องผู้หญิงอาศัยผิวและทรวดทรงเป็นต้นแล้ว ไม่
ควรเพื่อจะกล่าวด้วยอำนาจความยินดีเป็นต้น. การกล่าวอย่างนี้ว่า คนพวกนี้
มีศรัทธาเลื่อมใสแล้วถึงความสิ้นไป ดังนี้เทียว ก็ควร. แม้การกล่าวเรื่องคน
กล้า ไม่ควรเพื่อจะกล่าว ด้วยอำนาจความยินดีว่า นักรบชื่อว่า นันทมิต
เป็นผู้แกล้วกล้า. การกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใสแล้วถึงความ
สิ้นไป ดังนี้เทียว ก็ควร. ปาฐะว่าสูรกถา ดังนี้บ้าง การกล่าวถึงผู้กล้าหาญแม้
นั้น ย่อมไม่ควรด้วยอำนาจความยินดีว่า ขึ้นชื่อว่า หญิงเห็นปานนี้ เป็นผู้มี
บิดา ชื่อว่า สูระ มีมารดาชื่อว่า ฤดี ดังนี้นั่นเทียว. ส่วนการกล่าวด้วย

อำนาจโทษนั่นแหละ ย่อมควรโดยนัย เป็นต้นว่า ผู้ประพฤติวัตรของผู้เป็นบ้า.
แม้การกล่าวเรื่องตรอก ย่อมไม่ควรเพื่อจะกล่าว ด้วยอำนาจความยินดีว่า
ตรอกโน้น สร้างไว้ดีแล้ว หรือว่า พวกตนที่อยู่ตรอกโน้นแกล้วกล้า มีความ
สามารถดังนี้. การกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเขาเป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใสแล้วถึงความ
สิ้นไป ดังนี้ ก็ควร. ถ้อยคำว่าด้วยเรื่องที่ตั้งหม้อ ถ้อยคำว่าด้วยเรื่องท่าน้ำ
ท่านเรียกว่า เรื่องท่าน้ำ. หรือว่าด้วยเรื่องนางทาสีตักน้ำด้วยหม้อ . การกล่าว
ด้วยอำนาจความยินดีว่า แม้นางเป็นผู้น่าเลื่อมใส ฉลาดที่จะฟ้อนขับ ดังนี้
ไม่ควร. การกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า มีศรัทธา เลื่อมใสแล้ว ดังนี้เทียว ก็ควร.
คำว่า เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว ได้แก่ เรื่องญาติที่ล่วงลับไปแล้ว.
การวินิจฉัยในเรื่องญาติที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ก็เหมือนกับเรื่องญาติที่ยังมีชีวิต
อยู่นั่นแหละ.
คำว่า เรื่องเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เรื่องที่หาประโยชน์มิได้ พ้นจาก
เรื่องเกิดก่อนและหลัง ที่เหลือมีสภาพต่าง ๆ.
คำว่า กล่าวเรื่องโลก คือการกล่าวเล่น ๆ ว่าด้วยเรื่องโลกเป็นต้น
อย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนชื่อโน้นสร้าง กาขาว เพราะมีกระดูกขาว นก
ตะกรุมแดง เพราะมีโลหิตแดง. การกล่าวเรื่องทะเลอัน ไม่มีประโยชน์เป็นต้น
อย่างนี้ว่า เพราะเหตุไร ทะเลจึงชื่อว่า สาคร ชื่อว่า สมุทร เพราะรู้ได้ด้วยปลายมือ
ว่า ชื่อว่าสาครที่เคาขุดแล้ว เพราะสาครเทพขุดแล้ว ชื่อว่า กล่าวเรื่องทะเล.
การกล่าวเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ทั่ว ๆ ไปว่า เจริญ เสื่อม แล้วกล่าวเรื่องที่เป็นไป
ชื่อว่า กล่าวเรื่องความเจริญและความเสื่อม. ก็ในเรื่องกล่าวความเจริญและ
ความเสื่อมนี้ ความเที่ยงชื่อว่า ความเจริญ ความขาดสูญชื่อว่า ความเสื่อม

ความก้าวหน้าชื่อว่า ความเจริญ ความหายนะชื่อว่า ความเสื่อม กามสุข
ชื่อว่า ความเจริญ การทำตนให้ลำบาก ชื่อว่า ความเสื่อม รวมกับความ
เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ 6 อย่างเหล่านี้ จึงเป็นการกล่าวเรื่อง
เดรัจฉาน 32 ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติรัจฉานกถาสูตรที่ 10
จบสมาธิวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สมาธิสูตร 2. ปฎิสัลลานสูตร 3. ปฐมกุลปุตตสูตร 4. ทุติย-
กุลปุตตสูตร 5. ปฐมสมณพราหมณสูตร 6. ทุติยสมณพราหมณสูตร 7.
วิตักกสูตร 8. จินตสูตร 9. วิคคหิกกถาสูตร 10. ติรัจฉานกถาสูตร และ
อรรถกถา.