เมนู

10. ติรัจฉานกถาสูตร



ว่าด้วยการพูดติรัจฉานกถา



[1663] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดติรัจฉานกถา
ซึ่งมีหลายอย่าง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอมาตย์ เรื่องกอง
ทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอก
ไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความ
เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำที่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความ
หน่าย... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบติรัจฉานกถาสูตรที่ 10
จบสมาธิวรรคที่ 1

อรรถกถาติรัจฉานกถาสูตร



พึงทราบอธิบายในติรัจฉานกถาสูตรที่ 10.
บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มีหลายอย่าง. คำว่า ติรัจฉานกถา
คือ ถ้อยคำที่เป็นเดรัจฉาน นอกทางสวรรค์และนิพพาน เพราะไม่เป็นการนำ
ออกจากทุกข์.ในคำว่า เรื่องพระราชา ดังนี้เป็นต้น ถ้อยคำที่ปรารภพระราชา
แล้ว เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามันธาตา พระเจ้า
ธรรมาโศก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า เรื่องพระราชา. แม้ในเรื่องโจร
เป็นต้นก็นัยนี้. ก็เรื่องความรักอาศัยเรือนโดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาพระราชา
เหล่านั้น พระราชาพระองค์นั้น มีรูปงาม น่าดู ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ก็ถ้อย
คำที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้ผู้มีชื่อนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้ถึงความสิ้น
ไป เสื่อมไปแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน แม้ในหมู่โจร การกล่าวคำ
แสดงความรักอาศัยเรือนว่า คำเหล่านั้น ได้มีแล้ว เพราะอาศัยกรรมของพวก
โจรนั้นว่า มูลเทพเป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ในการ
รบ ถ้อยคำด้วยอำนาจความใคร่และความยินดีว่า คนโน้น ถูกคนโน้น แทง
ในการรบเป็นต้นอย่างนี้ว่า ถูกฆ่าแล้วอย่างนี้นั่นเทียว ชื่อว่า ติรัจฉานกถา.
ก็ถ้อยคำที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า แม้พวกนั้นก็ถึงความสิ้นไปจัดเป็น
กรรมฐานในที่ทุกแห่งนั่นเทียว. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในเรื่องข้าวเป็นต้น การ
กล่าวด้วยอำนาจความใคร่และความยินดีว่า พวกเราจะเคี้ยว บริโภค ดื่มข้าว
เป็นต้นที่มีสีมีกลิ่น ถึงพร้อมด้วยรสและผัสสะ ย่อมไม่ควร. ส่วนการกล่าว