เมนู

สิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จัก
ประกาศอริยสัจ 4 ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ประกาศอยู่ซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศอยู่ซึ่งอริยสัจ 4 ว่า
เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง อริยสัจ 4 เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งใน
อดีตกาล... ในอนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล ประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้วตาม
ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศอริยสัจ 4
เหล่านี้ ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตร



พึงทราบอธิบายในทุติยสมณพราหมสูตรที่ 6.
คำว่า ประกาศแล้วซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้ว ความว่า ประกาศสิ่งที่ตนรู้
เฉพาะแล้วอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว. ก็ในพระสูตรนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงถือเอาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยสมณศัพท์.
จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณ์สูตรที่ 6

7. วิตักกสูตร*



ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ 4



[1660] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตก
อันลามก คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อม
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง
ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะความตรึกเหล่านั้น
ประกอบด้วยประโยชน์เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบวิตักกสูตรที่ 7
* สูตรที่ 7-8-9 ไม่มีอรรถกถา.