เมนู

[1613] ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งมั่นในกุศล
เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้น
บรรลุธรรมที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็น
ที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ) ย่อมไม่หวั่นไหว
ในเมื่อมัจจุราชมาถึง.

จบตติยอภิสันทสูตรที่ 3

อรรถกถาตติยอภิสันทสูตร



พึงทราบอธิบายในตติยอภิสันทสูตรที่ 3.
คำว่า ปุญฺญกาโม คือ ผู้ต้องการบุญ. คำว่า ผู้ตั้งมั่นในกุศล คือ
ผู้ตั้งอยู่ในมรรคกุศล. คำว่า เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม คือ เจริญ
อรหัตมรรค เพื่อบรรลุนิพพาน. ในบทว่า ผู้บรรลุธรรมที่เป็นสาระ มี
วิเคราะห์ว่า ธรรมที่เป็นสาระคือ อริยผล ท่านเรียกว่า ธรรมที่เป็นสาระ การ
บรรลุธรรมที่เป็นสาระของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ผู้บรรลุ
ธรรมที่เป็นสาระ อธิบายว่า ผู้บรรลุผล. คำว่า ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป
คือ ยินดีในความสิ้นกิเลส.
จบอรรถกถาตติยอภิสันทสูตรที่ 3

4. ปฐมมหัทธนสูตร



ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเป็นผู้มั่งคั่ง



[1614] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ ธรรม 4 ประการ
เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด
ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม
4 ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่.
จบปฐมมหัทธนสูตรที่ 4

อรรถกถาปฐมมหัทธนสูตร



พึงทราบอธิบายในปฐมมหัทธนสูตรที่ 4.
คำว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก คือ ผู้มั่งคั่ง และมีทรัพย์มาก
ด้วยอริยทรัพย์เจ็ดอย่าง. ผู้มีโภคะมากด้วยโภคะนั้นนั่นแหละ คำที่เหลือใน
ที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมมหัทธนสูตรที่ 4
จบสคาถกปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ 5