เมนู

8. วัสสสูตร



ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



[1595] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลง
บนภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธาร ลำห้วย ให้เต็ม
ซอกเขา ลำธาร ลำห้วย เต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อม
ยังบึงให้เต็มแล บึงเต็มแล้วย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ย่อม
ยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม ฉัน
ใด ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์
อันใด และศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เหล่าใด ของอริยสาวก ธรรมเหล่านี้
เมื่อไหลไปถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบวัสสสูตรที่ 8

อรรถกถาวัสสสูตร



พึงทราบอธิบายในวัสสสูตรที่ 8.
คำว่า ถึงฝั่ง คือ นิพพาน ท่านเรียกว่า ฝั่ง อธิบายว่าถึงฝั่งนั้น
ก็ในคำว่า เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ท่านทำเทศนาไว้อย่างนี้ว่า ถึงพระ
นิพพานก่อนแล้ว เป็นไปในภายหลังหามิได้ เมื่อจะไปก็เป็นไปพร้อมกัน.
จบอรรถกถาวัสสสูตรที่ 8

9. กาฬิโคธาสูตร



องค์คุณของพระโสดาบัน



[1596] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคราราม
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของ
เจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพระนางกาฬิ-
โคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[1597] ดูก่อนพระนางโคธา อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม 4 ประการเป็นไฉน อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...
ในพระสงฆ์ ... มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน ดูก่อนพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[1598] พระนางกาฬิโคธา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ 4 ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้น
* สูตรที่ 9 ไม่มีอรรถกถาแก้.