เมนู

อรรถกถาเอกาภิญญาสูตร



สูตรที่ 4.

พึงทราบความคละปนกันโดยวิปัสสนาด้วยคำว่า ตโต
มุทุตเรหิ.
คือ อินทรีย์ทั้ง 5 อย่างที่สมบูรณ์แล้ว ก็ย่อมชื่อว่าวิปัสสนินทรีย์
ของอรหัตมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอันตราปรินิพพายี ฯลฯ ชื่อว่า
เป็นวิปัสสนินทรีย์ ของอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี. แม้ในฐานะนี้ ก็พึงชักเอาแต่
ความเจือปนกันทั้งห้าอย่างที่ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคออกตามนัยก่อนเหมือนกัน.
และในที่นี้ต้องชักเอาความเจือปนห้าอย่างออกมาเหมือนที่ตั้งอยู่ในสกทาคามิ
มรรค ต้องชักเอาความเจือปนสามอย่างออกมาตามนัยก่อนนั่นแหละ. ก็วิปัส-
สนินทรีย์แห่งโสดาปัตติมรรคอ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์ของสกทาคามิมรรค และ
วิปัสสนินทรีย์ของมรรคของเอกพีชีเป็นต้น ก็อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์เหล่านั้น
ของโสดาปัตติมรรค. และก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอกพีชี มีพืชเดียว
นี้ต่อไป บุคคลใดได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ละเพียงอัตภาพเดียวเท่านั้น แล้ว
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ บุคคลนี้ ชื่อ เอกพีชี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
ก็แล เอกพีชีบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะ
สังโยชน์ 3 หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มีความตกต่ำ
เป็นธรรมดา เที่ยงแท้ มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ ท่องเที่ยวไปสู่ภพมนุษย์อีกครั้งเดียว
เท่านั้นแล้ว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า เอกพีชี.
ส่วนบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสองสามภพแล้ว จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้
บุคคลนี้ ชื่อโกลังโกละ ผู้ออกจากตระกูลไปสู่ตระกูล. สมดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า