เมนู

สรกานิวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถาปฐมมหานามสูตร



พึงทราบอธิบายในปฐมมหานามสูตรที่ 1 แห่งสรกานิวรรคที่ 3.
คำว่า มั่งคั่ง คือ สำเร็จแล้วด้วยน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น.
คำว่า เจริญรุ่งเรือง คือเบิกบานแล้ว ด้วยอำนาจเครื่องประดับ มีเครื่องสวมมือ
และสวนศีรษะเป็นต้น. คำว่า แออัดไปด้วยมนุษย์ คือมีมนุษย์หาระหว่างมิได้.
ถนนที่เดินไม่ได้ตลอด ท่านเรียกว่า พยูหะ ในบทว่า มีถนนคับแคบ
คนทั้งหลายเข้าถึงทางที่เข้าโดยทางที่เข้าไปในถนนเหล่าใดแล ถนนเหล่านั้น
คับแคบมีมากในนครนี้ เหตุนั้น พระนครนี้ชื่อว่า มีถนนคับแคบ. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงการอยู่กัน อย่างหนาแน่นของชาวพระนคร แม้ด้วย
บทนี้. บทว่า วิพฺภนฺเตน ได้แก่ หมุนไปรอบ ๆ ข้างโน้นข้างนี้ เพราะ
ความฟุ้ง.
จบอรรถกถาปฐมมหานามสูตรที่ 1

2. ทุติยมหานามสูตร



ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม



[1510] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราชเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทรงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก
แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า
หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์
ในเวลาเย็น ย่อมไม่ไปพร้อมกับช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษ
สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไป คติของเราจะเป็น
อย่างไร อภิสัมปรายภพของเราจะเป็นอย่างไร.
[1511] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร
อย่ากลัวเลย ๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอัน
ไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ธรรม 4 ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ใน
พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[1512] ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมโน้มโอนไป
ทางทิศปราจีน เมื่อรากขาดแล้ว จะพึงล้มไปทางไหน.
ม. ก็พึงล้มไปทางที่ต้นไม้น้อมโน้มโอนไป พระเจ้าข้า.
พ. ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเหล่านี้ ก็ย่อม
เป็นผู้น้อมโน้มโอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบทุติยมหานามสูตรที่ 2

ทุติยมหานามสูตรมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

3. โคธาสูตร



ปัญหาเกี่ยวกับการเป็นพระโสดาบัน



[1513] กบิลพัสดุ์นิทาน. ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช
เสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า
[1514] ดูก่อนโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วย.
ธรรมกี่ประการ ว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่
จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. เจ้าศากยะพระนามว่าโคธาตรัสตอบว่า ดูก่อนมหานาม
หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ว่าเป็นพระ-
โสดาบัน... ธรรม 3 ประการเป็นไฉน. อริยสาวกในธรรนวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม...
ในพระสงฆ์... หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 3ประการนี้เเล
ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน
เบื้องหน้า.
[1515] ดูก่อนมหานาม ก็พระองค์เล่าย่อมทรงทราบบุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน.
ม. ดูก่อนโคธา หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน ... ธรรม 4 ประการเป็นไฉน. อริยสาวกใน