เมนู

ขาด . . . เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระ
อริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึสุคติโลก
สวรรค์.
[1503] เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้
นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ใน
พระธรรม... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล ... การประกอบด้วยศีลที่พระ-
อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย
ไป เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์.
จบทุติยเทวจาริกสูตรที่ 9

10. ตติยเทวจาริกสูตร



องค์คุณของพระโสดาบัน



[1504] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจาก
พระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียด
แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น. เทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่
ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเทวดาเหล่านั้นว่า
[1505] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... เป็นความดี

แล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...
ในพระธรรมะ... ในพระสงฆ์... สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า การประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน มี
ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[1506] เทวดาทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ...
ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... หมู่สัตว์นี้
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน
เบื้องหน้า การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
หมู่สัตว์นี้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้
ในเบื้องหน้า.
จบตติยเทวจาริกสูตรที่ 10.
จบราชการามวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สหัสสสูตร 2. พราหมณสูตร 3. อานันทสูตร 4. ปฐม-
ทุคติสูตร 5. ทุติยทุคติสูตร 6. ปฐมมิตตามัจจสูตร 7. ทุติยมิตตามัจจสูตร
8. ปฐมเทวจาริกสูตร 9. ทุติยเทวจาริกสูตร 10. ตติยเทวจาริกสูตร
และอรรถกถา.