เมนู

ไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยาย ชื่อว่า ธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบ
แล้ว... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบปฐมคิญชกาวสถสูตรที่ 8

อรรถกถาปฐมคิญชกาวสถสูตร



พึงทราบอธิบายในปฐมคิญชกาวสถสูตรที่ 8.
บทว่า ญาติเก ความว่า หมู่บ้าน 2 ตำบล ของบุตรของจุลลปิติ
และมหาปิติทั้งสองมีอยู่เพราะอาศัยบึงหนึ่ง. บทว่า ญาติเก ได้แก่ ในบ้าน
หนึ่ง บทว่า ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ความว่า ที่อยู่ทำด้วยอิฐ. บทว่า ส่วนเบื้อง
ต่ำ ได้แก่ ส่วนเบื้องต่ำที่ให้ถือปฏิสนธิในกามภพนั้นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ
ว่า ส่วนเบื้องต่ำ เพราะอรรถว่าพึงละได้ ด้วยมรรค 3 ที่ได้ชื่อว่า อุระ
ดังนี้ บรรดาสังโยชน์เหล่านั้น สังโยชน์สองเหล่านี้คือ กามฉันทะ
พยาบาท ไม่ข่มแล้วด้วยสมาบัติหรือไม่ถอนขึ้นแล้วด้วยมรรค หรือว่าไม่ให้
เพื่อจะถึงรูปภพที่เป็นส่วนเบื้องบน ด้วยอำนาจแห่งการเกิด. สังโยชน์ 3 มี
สักกายทิฏฐิเป็นต้น นำสัตว์ที่เกิดแล้วในรูปภพนั้นมาให้เกิดแม้ในที่นี้อีก
เพราะเหตุนั้น สังโยชน์แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ความว่า มีการไม่มาเป็นสภาพ ด้วยอำนาจ
ปฏิสนธิ บทว่า เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง ความว่า พึงทราบ
ความที่ราคะโทสะและโมหะเบาบาง โดยสองอย่างคือ ด้วยการเกิดขึ้นในโลกนี้
คราวเดียว 1 ด้วยการที่ปริยุฏฐานกิเลสเบาบาง1. ก็ราคะเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้น
เนือง ๆ แก่พระสกทาคามี เหมือนแก่พวกปุถุชน บางครั้งบางคราวก็เกิดขึ้น

เมื่อจะเกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้นมาก เหมือนพวกปุถุชน เกิดขึ้นเบาบาง เหมือน
ปีกแมลงวัน.* ก็พระทีฆภาณกเตปิฎกมหาสิวเถระ กล่าวแล้วว่า พระสกทาคามี
ย่อมมีบุตรและธิดา (และ) หมู่สนม เพราะเหตุนั้น กิเลสทั้งหลายจึงมีมาก
แต่ว่า คำนี้ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจภพ. ก็คำนั้น เป็นอันถูกคัดค้านแล้ว
เพราะท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า เว้น 7 ภพ ในภพที่ 8 พระโสดาบัน ย่อม
ไม่มีสังโยชน์ที่เบาบางในภพ เว้น 2 ภพ ใน 5 ภพ พระสกทาคามี ย่อมไม่
มีสังโยชน์ที่เบาบางในภพ เว้นรูปภพ อรูปภพ ในกามภพ พระอนาคามี
ย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เบาบางในภพ ในภพไร ๆ พระขีณาสพ ย่อมไม่มีสังโยชน์
ที่เบาบางในภพ. คำว่า โลกนี้ ท่านกล่าว หมายเอากามาวาจรโลกนี้.
ก็ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุชื่อว่า สาฬหะ บรรลุ
สกทาคามิผลในมนุษยโลกแล้วเกิดในเทวโลก ทำให้แจ้งพระอรหัต นั่นเป็น
การดีแล. แต่ว่า เมื่อไม่อาจมามนุษยโลกแล้ว ก็จะทำให้แจ้งพระอรหัตแน่แท้.
แม้บรรลุพระสกทาคามิผลในเทวโลกแล้ว ถ้ามาเกิดในมนุษยโลกก็จะทำพระ-
อรหัตให้แจ้ง นั่นเป็นการดีแล. แต่ว่า เมื่อไม่สามารถ ครั้นไปเทวโลก
แล้ว ก็จะทำให้แจ้งแน่แท้. ความตกต่ำ ชื่อว่า วินิบาต ความตกต่ำเป็น
ธรรมของพระโสดาบันหามิได้ เหตุนั้น ชื่อว่า มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
อธิบายว่า มีความไม่ตกต่ำเป็นสภาวะในอบายทั้ง 4. บทว่า เที่ยง ได้แก่
เที่ยงโดยทำนองแห่งธรรม.
บทว่า มีการตรัสรู้ในเบื้องหน้า ความว่า การตรัสรู้กล่าวคือ
มรรค 3 เบื้องสูง เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นคติ เป็นที่พึ่ง อันเขาพึง
บรรลุแน่แท้ เหตุนั้น ชื่อว่าผู้มีการตรัสรู้พร้อมเป็นไปในเบื้องหน้า. บทว่า
ข้อนี้เป็นความลำบาก ความว่า อานนท์ ความลำบากกายนั่นเทียว ย่อม
* ปาฐะเป็น มจฺฉิกปตฺตา พม่าเป็น มกฺขิกปตฺตํ แปลตามพม่า.

ปรากฏแม้แก่ตถาคคผู้ตรวจดู คติ การอุบัติ และ ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ใน
เบื้องหน้าของคนเหล่านั้น ๆ ด้วยพระญาณ แต่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความ
ลำบากทางจิต. บทว่า ธมฺมาทาสํ ได้แก่แว่นที่สำเร็จด้วยธรรม. บทว่า เยน
ความว่า ประกอบแล้วด้วยแว่นที่สำเร็จด้วยธรรมใด. คำว่า มีอบาย ทุคติ
และวินิบาตสิ้นแล้ว
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยคำที่เป็นไวพจน์ของ
นรกเป็นต้นนั่นเอง. ก็นรกเป็นต้น ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความ
ก้าวหน้ากล่าวคือความเจริญ. คติ คือที่แล่นไปของทุกข์ เหตุนั้น ชื่อว่า ทุคติ.
ผู้ที่มีปกติทำชั่ว ไร้อำนาจตกไปในนรกเป็นต้นนั้น เหตุนั้น นรกเป็นต้นนั้น
จึงชื่อว่า วินิบาต.
จบอรรถกถาคิญชกาวสถสูตรที่ 8

9. ทุติยคิญชกาวสถสูตร



ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมทาส



[1473] (ข้อความเบื้องต้นเหมือนคิญชกาวสถสูตรที่ 1) ครั้นแล้ว
ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
ชื่อว่าอโสกะมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็น
อย่างไร ภิกษุณีชื่ออโสกามรณภาพแล้ว ฯลฯ อุบาสกชื่ออโสกะกระทำกาละ
แล้ว ฯ ล ฯ อุบาสิกาชื่ออโสกากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร
สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร.
[1474] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุชื่ออโสกะ
มรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่