เมนู

บทว่า อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว ความว่า อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาจลูบคลำอย่างนี้ว่า ความตรึกชื่ออันท่านทำแล้ว ความตรึกนี้ท่าน
ทำแล้ว. บทว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ ความว่า สามารถเพื่อให้อัปปนาสมาธิ
หรืออุปจารสมาธิเป็นไป.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ 1

2. โอคธสูตร



องค์คุณของพระโสดาบัน



[1414] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ
ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม 4 ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ อริยสาวกผู้
ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อ
ไปอีกว่า
[1415] ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการ
เห็นธรรมมีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้นแล ย่อมบรรลุ
ความสุข อันหยั่งลงในพรหมจรรย์ตาม
กาล.

จบโอคธสูตรที่ 2

อรรถกถาโอคธสูตร



พึงทราบอธิบายในโอคธสูตรที่ 2.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ด้วยบทว่า
เยสํ สทฺธา. ทรงถือเอาศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ด้วยบทว่า ศีล.
ทรงถือเอาความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ด้วยบทว่า ความเลื่อมใส. ทรงถือ
เอาความเลื่ยมใสในธรรม ด้วยบทว่า การเห็นธรรม เป็นอันว่า ตรัส
องค์แห่งการบรรลุโสดา 4 ด้วยประการฉะนี้. บทว่า กาเล ปจฺเจนฺติ ได้แก่
บรรลุ (ผล) ตามกาล. บทว่า ความสุขอันหยั่งลงในพรหมจรรย์ ได้แก่
สุขที่สัมปยุตด้วยมรรค 3 เบื้องสูงที่รวมเอาพรหมจรรย์แล้วดำรงอยู่. ก็ความ
เลื่อมใสที่มาแล้วในคาถา จัดว่าเป็นความเลื่อมใสอันเป็นโลกุตระ พระติ-
ปิฏกจูฬาภยเถระ
กล่าวว่า ความเลื่อมใสก่อน. พระติปิฏกจูฬนาคเถระ
กล่าวว่า ความเลื่อมใสคือ การพิจารณามรรคที่มาแล้ว. พระเถระ แม้ทั้งสอง
เป็นบัณฑิต มีสุตะมาก สุภาษิตของพระเถระทั้งสองว่า นี้เป็นความเลื่อมใส
ที่เจือกัน.
จบอรรถกถาโอคธสูตรที่ 2