เมนู

5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยัง
อ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ 5 ยัง
อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยัง
อ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี
เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์
5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5
ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคน
ภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.
จบปฏิปันนสูตรที่ 8

อรรถกถาปฏิปันนสูตร



สูตรที่ 8.

คำว่า ตโต มุทุตเรหิ คือ พึงทราบความคละปะปนกัน
ด้วยอำนาจมรรคและผลนั่นเอง. ความคละปะปนกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ในบาลีเสร็จแล้ว. คำว่า ภายนอก คือ เป็นคนที่นอกจากบุคคล
ทั้ง 8 เหล่านี้. คำว่า ตั้งอยู่ในฝ่ายเป็นปุถุชน คือ ดำรงอยู่ในส่วนของ
คนกิเลสหนา. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่อินทรีย์ที่เป็น
โลกุตระเท่านั้น.
จบอรรถกถาปฏิปันนสูตรที่ 8

9. อุปสมสูตร



ว่าด้วยผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ 5



[890] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ผู้ถึง
พร้อมด้วยอินทรีย์อื่น ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าใดหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์.
[891] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อัน
ให้ความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะ
ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์.
จบอุปสมสูตรที่ 9

อรรถกถาอุปสมสูตร



สูตรที่ 9.

คำว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ คือ ผู้มีอินทรีย์เต็มที่.
จบอรรถกถาอุปสมสูตรที่ 9