เมนู

[1397] ดูก่อนอานนท์ สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์.
[1398] ดูก่อนอานนท์ ก็โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
การทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์...
ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนอานนท์ โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
จบปฐมอานันทสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมอานันทสูตร



ปฐมอานันทสูตรที่ 3.

คำว่า ย่อมค้นคว้า คือ ย่อมเลือกเฟ้น
ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. อีก 2 บทนอกนี้ เป็นคำใช้แทน
คำว่า ย่อมค้นคว้า นี้เอง. คำว่า อันหาอามิสมิได้ คือไม่มีกิเลส ได้แก่
ทั้งกายทั้งจิต ย่อมสงบระงับ. ด้วยความสงบระงับความกระวนกระวายทางกาย
และทางใจ. คำว่า ย่อมตั้งมั่น ได้แก่ ถูกตั้งไว้โดยชอบ คือ เป็นเหมือน
อัปปนาจิต. คำว่า ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง คือย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่าง
ยิ่ง ด้วยความวางเฉยอย่างยิ่งคือธรรมที่เกิดร่วมด้วย.
สติในกายนั้น ของภิกษุผู้กำหนดกายด้วยวิธี 14 อย่าง ดังที่ว่ามานี้
ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ณาณที่ประกอบกับสตินั้น เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์