เมนู

อรรถกถากิมิลสูตร



กิมิลสูตรที่ 10.

คำว่า ใกล้เมืองกิมิลา* คือในนครมีชื่ออย่างนั้น .
คำว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เทศนานี้มิได้ทำอย่างมี
อนุสนธิ เราจะให้ถึงอย่างมีอนุสนธิ (ยถานุสนธิ) เมื่อจะสืบต่ออนุสนธิแห่ง
เทศนา จึงได้กล่าวคำนี้. คำว่า กายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย คือ
เรากล่าวกายอย่างใดอย่างหนึ่งในกายทั้งหลายมีกายคือ ดินเป็นต้น หมายความว่า
เรากล่าวถึงกายคือ ลม. อีกอย่างหนึ่ง ส่วนแห่งรูป 25 ชนิด คือ อายตนะ
คือ ตา ฯลฯ อาหารที่ทำเป็นคำ ๆ ชื่อว่ารูปกาย. ในส่วนแห่งรูปเหล่านั้น
ลมหายใจออกและหายใจเข้าย่อมเป็นกายอย่างหนึ่ง เพราะรวมเข้าในอายตนะ
คือ สิ่งที่จะพึงถูกต้อง. แม้เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงได้กล่าวอย่างนั้น. คำว่า
ตสฺมา ติห ความว่า เพราะย่อมพิจารณาเห็นกายคือ ลม ซึ่งเป็นกายอย่าง
หนึ่งในกายทั้ง 4 หรือย่อมพิจารณาเห็นลมหายใจออกและหายใจเข้า ซึ่งเป็น
กายอย่างหนึ่งในรูปกาย ในส่วนแห่งรูป 25 ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้พิจารณา
เห็นกายในกาย. พึงทราบใจความในทุกบทอย่างนี้. คำว่า เวทนาอันหนึ่งใน
บรรดาเวทนาทั้งหลาย
คือ เวทนาอย่างหนึ่งในเวทนาทั้ง 3 อย่าง คำนี้
ท่านกล่าวหมายเอาสุขเวทนา.
คำว่า การทำไว้ในใจให้ดี คือ ความเอาใจใส่อย่างดี ที่เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยอำนาจการเสวยปีติเป็นต้น. ถามว่า ก็ความเอาใจใส่เป็นสุขเวทนา หรือ.
ตอบว่า ไม่เป็น นี้เป็นหัวข้อเทศนา เหมือนอย่างว่า สัญญาท่านเรียกโดย
ชื่อว่าสัญญา ในคำนี้ว่า เป็นผู้ประกอบตามการอบรมอนิจจสัญญา (ความ
สำคัญว่าไม่เที่ยง) ฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านเรียก
* สี. ในเมืองกิมพิลา