เมนู

แตกแยกเพราะเท้าวัวและควายเป็นต้นเหยียบย่างไป ก็ฟุ้งไปเบื้องบน กลบขึ้น
คือตั้งขึ้นพร้อมในอากาศ. คำว่า ฝนใหญ่มิใช่กาล คือฝนที่ตั้งขึ้นปกคลุม
ทั่วทั้งท้องฟ้าแล้วก็ตกลงมาหมดทั้งกึ่งเดือนในข้างขึ้นเดือนอาสาฬหะ ก็ฝนนั้น
ท่านประสงค์เอาในที่นี้ว่า ฝนมิใช่กาล เพราะเกิดขึ้นเมื่อยังไม่ถึงเวลาฝน. คำ
ว่า ให้อันตรธานสงบไป โดยพลัน คือ นำไปสู่ความไม่เห็น ได้แก่
ให้ชำแรกแทรกจมไปในแผ่นดินโดยทันทีทันใดทีเดียว. คำว่า ฉันนั้น
เหมือนกัน
นี้เป็นคำแสดงข้อเปรียบเทียบ. คำต่อจากนั้นไปก็มีนัยอย่างที่กล่าว
แล้วแล.
จบอรรถกถาเวสาลีสูตรที่ 9

10. กิมิลสูตร



การเจริญอานาปานสติสมาธิ



[1355] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้
เมืองกิมิลา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูก่อน
กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำ
ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
อย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.
[1356] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส
ถามท่านกิมิละว่า ดูก่อนกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ
เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ท่านกิมิละก็นิ่งอยู่.

[1357] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์
ได้กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาลสมควรที่
พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็น
กาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดู
ก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์
ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก
แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออกเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจเข้า ดูก่อนอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญ
แล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[1358] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัด
ว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อ
หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย

ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1359] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้
จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งสมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้น
แหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1360] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
กำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิต
ให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ

เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1361] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา
เห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
ดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1362] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทาง
ใหญ่ 4 แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น
ถ้าผ่านนาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้
จบกิมิลสูตรที่ 10
จบเอกธรรมวรรคที่ 1

อรรถกถากิมิลสูตร



กิมิลสูตรที่ 10.

คำว่า ใกล้เมืองกิมิลา* คือในนครมีชื่ออย่างนั้น .
คำว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เทศนานี้มิได้ทำอย่างมี
อนุสนธิ เราจะให้ถึงอย่างมีอนุสนธิ (ยถานุสนธิ) เมื่อจะสืบต่ออนุสนธิแห่ง
เทศนา จึงได้กล่าวคำนี้. คำว่า กายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย คือ
เรากล่าวกายอย่างใดอย่างหนึ่งในกายทั้งหลายมีกายคือ ดินเป็นต้น หมายความว่า
เรากล่าวถึงกายคือ ลม. อีกอย่างหนึ่ง ส่วนแห่งรูป 25 ชนิด คือ อายตนะ
คือ ตา ฯลฯ อาหารที่ทำเป็นคำ ๆ ชื่อว่ารูปกาย. ในส่วนแห่งรูปเหล่านั้น
ลมหายใจออกและหายใจเข้าย่อมเป็นกายอย่างหนึ่ง เพราะรวมเข้าในอายตนะ
คือ สิ่งที่จะพึงถูกต้อง. แม้เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงได้กล่าวอย่างนั้น. คำว่า
ตสฺมา ติห ความว่า เพราะย่อมพิจารณาเห็นกายคือ ลม ซึ่งเป็นกายอย่าง
หนึ่งในกายทั้ง 4 หรือย่อมพิจารณาเห็นลมหายใจออกและหายใจเข้า ซึ่งเป็น
กายอย่างหนึ่งในรูปกาย ในส่วนแห่งรูป 25 ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้พิจารณา
เห็นกายในกาย. พึงทราบใจความในทุกบทอย่างนี้. คำว่า เวทนาอันหนึ่งใน
บรรดาเวทนาทั้งหลาย
คือ เวทนาอย่างหนึ่งในเวทนาทั้ง 3 อย่าง คำนี้
ท่านกล่าวหมายเอาสุขเวทนา.
คำว่า การทำไว้ในใจให้ดี คือ ความเอาใจใส่อย่างดี ที่เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยอำนาจการเสวยปีติเป็นต้น. ถามว่า ก็ความเอาใจใส่เป็นสุขเวทนา หรือ.
ตอบว่า ไม่เป็น นี้เป็นหัวข้อเทศนา เหมือนอย่างว่า สัญญาท่านเรียกโดย
ชื่อว่าสัญญา ในคำนี้ว่า เป็นผู้ประกอบตามการอบรมอนิจจสัญญา (ความ
สำคัญว่าไม่เที่ยง) ฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านเรียก
* สี. ในเมืองกิมพิลา