เมนู

อรรถกถาเวสาลีสูตร



เวสาลีสูตรที่ 9.

คำว่า ใกล้กรุงเวสาลี คือ ใกล้กรุงที่มีโวหาร
อันเป็นไปด้วยอำนาจเพศหญิง ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น. จริงอย่างนั้น กรุงนั้น
เรียกว่า เวสาลี เพราะเป็นนครที่กว้างขวาง ด้วยการขยายกำแพงล้อมรอบ
ถึง 3 ครั้ง. และกรุงแม้นี้ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุความเป็น
พระสัพพัญญูนั่นเอง ก็พึงทราบว่า ได้บรรลุความไพบูลย์ด้วยอาการทั้งปวง
เมื่อท่านพระอานนท์ได้ระบุโคจรคามอย่างนี้เสร็จแล้ว ก็ได้กล่าวถึงที่สำหรับ
อยู่ว่า ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ในคำเหล่านั้น ป่าอย่างใหญ่มีเขต
กำหนด ไม่มีใครปลูกไว้ เกิดขึ้นเอง ชื่อ มหาวัน (ป่าใหญ่). ส่วนป่าใหญ่
ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าที่มีเขตกำหนดติดเป็นพืดเดียวกันกับ
ป่าหิมพานต์ ไปจนติดทะเลหลวง. ป่าใหญ่นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เป็นป่าใหญ่
ที่ยังมีขอบเขต ฉะนั้นจึงเรียกว่า มหาวัน. ส่วนศาลาเรือนยอด คือศาลาที่ได้
สร้างเป็นเรือนมียอดไว้ภายในสวนที่อาศัยป่าใหญ่สร้างไว้ ด้วยหลังคากลม
ดุจหงส์. สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พึงทราบว่าเป็นพระคันธุฏีของพระ-
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า.
คำว่า ทรงแสดงอสุภกถาโดยอเนกปริยาย คือ ทรงแสดงถ้อยคำ
ที่ทำให้หมดความพอใจในกาย* เป็นไปเพื่อชี้ให้เห็นชัดถึงอาการที่ไม่งาม ด้วย
เหตุมิใช่น้อย เช่น มีในร่างกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน ฯลฯ น้ำมูตร ดังนี้.
คำนี้ทรงอธิบายไว้อย่างไร. (ทรงอธิบายไว้ว่า) ภิกษุทั้งหลาย ในซากศพขนาด
วาหนึ่งนี้ ใครๆเมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว ย่อมไม่เห็นของสะอาดอะไรๆ แม้แต่
* กัมพุช ที่เป็นเหตุให้ติดกายได้เด็ดขาด