เมนู

ของอานาปานัสสติสมาธิภาวนา เมื่อได้เจริญอานาปานัสสติสมาธิโดยอาการ
ทั้งหมดแล้ว สิ่งทั้งหมดนี้ ก็ย่อมสำเร็จแก่พระโยคี ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้
เพื่อชี้ถึงอานิสงส์. ทำไมในคำว่า สุขญฺเจ นี้ (ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา) ท่านจึง
กล่าวว่า โส (แปลว่า เขาผู้นั้น . . .) เพราะในวาระนี้ คำว่า ภิกษุ มิได้มา.
จบทีปสูตรที่ 8

9. เวสาลีสูตร


ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน


[1348] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ใกล้กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญ
คุณแห่งอสุภะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้น
อยู่สักกึ่งเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ใคร ๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว.
[1349] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ
โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะ อันเกลื่อนกล่นด้วย
อาการเป็นอเนกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นอึดอัดระอาเกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาสตรา

สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามา
โดยวันเดียวกัน.
[1350] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง
กึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์
เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบางไป ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา ตรัส
สรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ แก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา
ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ โดยอเนก
ปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะอันเกลื่อนnล่นด้วยอาการเป็นอเนก
อยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาสตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง
ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามาโดยวันเดียวกัน ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์
จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตผลเถิด.
[1351] พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด
ที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกัน ในอุปัฏฐานศาลา.
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่
อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ ให้มาประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุม
กันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
[1352] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุ

เจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุขและยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยพลัน.
[1353] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้น
ในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้นให้
อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใด สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อัน-
ตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1354] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร เป็นสภาพสงบ..
ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้
ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา
เห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาแล้วอย่างนี้ เป็นสภาพสงบ..
ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน.
จบเวสาลีสูตรที่ 9

อรรถกถาเวสาลีสูตร



เวสาลีสูตรที่ 9.

คำว่า ใกล้กรุงเวสาลี คือ ใกล้กรุงที่มีโวหาร
อันเป็นไปด้วยอำนาจเพศหญิง ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น. จริงอย่างนั้น กรุงนั้น
เรียกว่า เวสาลี เพราะเป็นนครที่กว้างขวาง ด้วยการขยายกำแพงล้อมรอบ
ถึง 3 ครั้ง. และกรุงแม้นี้ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุความเป็น
พระสัพพัญญูนั่นเอง ก็พึงทราบว่า ได้บรรลุความไพบูลย์ด้วยอาการทั้งปวง
เมื่อท่านพระอานนท์ได้ระบุโคจรคามอย่างนี้เสร็จแล้ว ก็ได้กล่าวถึงที่สำหรับ
อยู่ว่า ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ในคำเหล่านั้น ป่าอย่างใหญ่มีเขต
กำหนด ไม่มีใครปลูกไว้ เกิดขึ้นเอง ชื่อ มหาวัน (ป่าใหญ่). ส่วนป่าใหญ่
ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าที่มีเขตกำหนดติดเป็นพืดเดียวกันกับ
ป่าหิมพานต์ ไปจนติดทะเลหลวง. ป่าใหญ่นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เป็นป่าใหญ่
ที่ยังมีขอบเขต ฉะนั้นจึงเรียกว่า มหาวัน. ส่วนศาลาเรือนยอด คือศาลาที่ได้
สร้างเป็นเรือนมียอดไว้ภายในสวนที่อาศัยป่าใหญ่สร้างไว้ ด้วยหลังคากลม
ดุจหงส์. สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พึงทราบว่าเป็นพระคันธุฏีของพระ-
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า.
คำว่า ทรงแสดงอสุภกถาโดยอเนกปริยาย คือ ทรงแสดงถ้อยคำ
ที่ทำให้หมดความพอใจในกาย* เป็นไปเพื่อชี้ให้เห็นชัดถึงอาการที่ไม่งาม ด้วย
เหตุมิใช่น้อย เช่น มีในร่างกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน ฯลฯ น้ำมูตร ดังนี้.
คำนี้ทรงอธิบายไว้อย่างไร. (ทรงอธิบายไว้ว่า) ภิกษุทั้งหลาย ในซากศพขนาด
วาหนึ่งนี้ ใครๆเมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว ย่อมไม่เห็นของสะอาดอะไรๆ แม้แต่
* กัมพุช ที่เป็นเหตุให้ติดกายได้เด็ดขาด