เมนู

อรรถกถาทีปสูตร


ทีปสูตรที่ 8.

คำว่า เนว เม กาโยปิ กิลมติ น จกฺขูนิ
ความว่า โดยทั่วไป เมื่อกำลังทำงานในกัมมัฏฐานอย่างอื่น กายย่อมเหน็ด
เหนื่อยบ้าง จักษุก็ย่อมลำบากบ้าง จริงอยู่ เมื่อกำลังทำงานในธาตุกัมมัฏฐาน
กายย่อมลำบาก เป็นเหมือนถึงอาการจับใส่ในเครื่องยนต์แล้วเบียดเบียน. เมื่อ
กำลังทำงานในกสิณกัมมัฏฐานอยู่ จักษุก็กลอกไปมา ย่อมเหนื่อย เป็นเหมือน
ถึงอาการทะลักตกลงไป. แต่เมื่อกำลังทำงานในกัมมัฏฐานนี้ กายก็ไม่เหนื่อยเลย
จักษุทั้งสองข้างก็ไม่ลำบากด้วย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
ถามว่า ทำไม ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปสัญญาทั้งหมด เราจะ
เพิกกสิณในอานาปานะ (ลมหายใจออกเข้า) ได้หรือ. ตอบว่า ได้. สำหรับ
พระจูฬาภยเถระผู้ชำนาญไตรปิฎก กล่าวว่า เพราะเหตุที่นิมิตของอานาปานะ
ย่อมปรากฏเป็นเหมือนแถวแก้วมุกดาในรูปดาว ฉะนั้น ในอานาปานะนั้น เรา
จึงเพิกเอากสิณออกได้. พระจูฬนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก กล่าวค้านว่า ไม่ได้เลย.
อย่าเลย ขอรับ แล้วทำไม เราจึงจะถือเอาชนิดอันมีฤทธิ์ของพระอริยะเป็นต้น
นี้ได้เล่า. เพื่อชี้ถึงอานิสงส์ คือว่า ภิกษุผู้ต้องการ ฤทธิ์ที่เป็นอริยะก็ดี
รูปาวจรฌานสี่ก็ดี อรูปสมาบัติสี่ก็ดี นิโรธสมาบัติก็ดี ต้องทำความสนใจสมาธิ
ที่เกี่ยวกับความระลึกอานาปานนี้ให้ดี. เหมือนเมื่อได้กรุงแล้ว ของสิ่งใดที่
ต้องใช้ความขยันจึงจะได้มาในทิศทั้งสี่ ของสิ่งนั้น ก็ย่อมเข้าสู่กรุงโดยประตู
ทั้งสี่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่าได้ทั้งชนบทด้วย นี้แลเป็นอานิสงส์
ของกรุงนั่นเทียว ฉันใด ชนิดมีอริยฤทธิ์เป็นต้นนี้ ก็ฉันนั้น เป็นอานิสงส์