เมนู

[1326] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี
ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความ
ให้พิสดารตลอดถึงย่อมสำเหนียกว่า เราเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหาย
ใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือ
ความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี.
จบกัปปินสูตรที่ 7

อรรถกถากัปปินสูตร



กัปปินสูตรที่ 7.

ท่านแสดงถึงความหวั่นไหวนั่นเอง แม้ด้วย
สองคำว่า ความไหวหรือความเอนเอียง.
จบอรรถกถากัปปินสูตรที่ 7

8. ทีปสูตร



อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ



[1327] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[1328] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรณม
วินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาโดย
ความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[1329] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้ง
เราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อม
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น.
[1330] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวัง
ว่า แม้กายของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึง
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้
แหละให้ดี.