เมนู

เห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนอริฏฐะ อานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดย
กว้างขวางอย่างนี้แล.
จบอริฏฐสูตรที่ 6

อรรถกถาอริฏฐสูตร


อริฏฐสูตรที่ 6.

คำว่า ภาเวถ โน คือ ภาเวถ นุ (แปลว่า
พวกท่านย่อมเจริญหรือ). คำว่า กามฉันท์ ได้แก่ ความรักใคร่ที่เป็นไปใน
กามคุณ 5. คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก
ได้แก่ ปฏิฆสัญญา ในธรรม คืออายตนะ 12 ทั้งภายในและภายนอก อัน
ข้าพระองค์กำจัดเสียแล้ว
ได้แก่ ความสำคัญที่ประกอบด้วยความรู้สึก
กระทบกระทั่ง ได้ถูกนำออกไปได้โดยเฉพาะโดยดี หมายความว่า ถูกตัดขาด
แล้ว. ด้วยบทนี้ ท่านย่อมแสดงถึงอนาคามิมรรคของตน. คราวนี้ เมื่อจะชี้ถึง
วิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้น ว่า ข้าพระองค์มีสติหายใจ
ออก
ดังนี้.
จบอรรถกถาอริฏฐสูตรที่ 6

7. กัปปินสูตร



ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ



[1321] กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[1322] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัป-
ปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นแล้วได้ตรัสถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นความไหวหรือความ
เอนเอียงแห่งกายของภิกษุนั้นหรือหนอ.
[1323] ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด
ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่ลับ
รูปเดียว ในเวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้เห็นความไหวหรือความเอนเอียง
แห่งกายของท่านผู้มีอายุนั้นเลย.
[1324] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียง
แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะ
ได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุนั้นได้สมาธินั้นตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก.
[1325] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไหวหรือความเอนเอียงแห่ง
กายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ
กระทำให้มากซึ่งสมาธิ เป็นไฉน เพราะได้เจริญ ได้การทำให้มากซึ่งอานาปาน
สติสมาธิ.