เมนู

อานาปานสังยุตตวรรณนา



เอกธรรมวรรคที่ 1



อรรถกถาเอกธรรมสูตร



อานาปานสังยุต เอกธรรมสูตรที่ 1.

ธรรมอย่างเอก ชื่อว่า
เอกธรรม. คำใดที่เหลืออันจะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมด ได้กล่าวไว้
เสร็จแล้วในนิเทศที่ว่าด้วยอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ในวิสุทธิมรรค.
จบอรรถกถาเอกธรรมสูตร

2. โพชฌงคสูตร*



ว่าด้วยโพชฌงค์



[1307] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[1308] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ
สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์ ...
ปีติสัมโพชฌงค์.. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
* สูตรที่ 2 ถึง 4 ไม่มีอรรถกถาแก้.

นิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุ
ผู้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบโพชฌงคสูตรที่ 2

3. สุทธิกสูตร



วิธีเจริญอานาปานสติ



[1309] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[1310] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้
พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจเข้า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบสุทธิกสูตรที่ 3